วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2553

สมาชิกในกลุ่ม

สมาชิกในกลุ่ม
1 เด็กหญิงประภาพรรณ สิงห์เมือง เลขที่41
2 เด็กหญิงกมลวรรณ สุขทวี เลขที่ 32
3 เด็กหญิงวริญญา ตรีบาตร เลขที่ 38
4 เด็กหญิงภานิดา ศรีชมภู เลขที่ 36
ชั้น ม. 2/1

วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

มะค่าโมง


ชื่อ มะค่าโมง
เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ พบในป่าดิบแล้ง ผลเป็นฝักแบบ เปลือกแข็งหนาสีน้ำตาลดํา เมล็ดสีน้ำตาลมีเยื่ยสีส้ม
สรรพคุณทางยา เป็นสมุนไพรและพืชเศรษฐกิจ ลำต้นบริเวณที่เป็นปุ่ม ซึ่งมีรสเบื่อเมา ถ่ายพยาธิ และรักษาโรคผิวหนัง
ยาพื้นบ้านใช้เปลือกต้น ผสมกับเปลือกมะค่าแต้ อย่างละครึ่งกํามือ ทําเป็นยาประคบแก้ฟกช้ำ ปวดบวม เป็นยาสมานแผล

ขี้เหล็ก

ชื่อ ขี้เหล็ก
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้น ที่ต้นอ่อนจะเป็นขนและเมื่อแก่จะเกลี้ยง ใบติดกับต้นแยยสลับ ดอกออกเป็นช่อใหญ่ตามใบยอด
หรือตามมุมก้านใบ แต่ละดอกมีสีเหลือง
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบสด
สรรพคุณ รักษาโรคผิวหนังจำพวกหิด
วิธีใช้ ใบสดผสมกับหัวกระเทียม โขลกให้ละเอียดผสมนำมันพืชพอเปียกทาบ่อยๆแล้วอาการจะดีขึ้น

สะแกแสง


สะแกแสง ชื่อวิทยาศาสตร์ Cananga latifolia Finet Gagnep วงศ์ Annonaceae เป็นไม้ต้นสูง 10-20 เมตร กิ่งอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาล ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่กว้างแกมขอบขนานผงใบ ด้านบนมีขนละเอียดกว้าง 8.5-12 ซม. ยาว 9 -15 ซม. ดอกช่อออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีเขียวอ่อน กลิ่นหอม ผลกลุ่มมีผลย่อยหลายผลรวมกันเป็นช่อ ผลย่อยรูปยาวรี สรรพคุณทางยา เป็นสมุนไพร ใช้แก่นมีรสเบื่อเมา แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน เช่น กลาก เกลื้อน โรคเรื้อน น้ำเหลืองเสีย หรือ หูด ม้วนรวมกับยาสูบ สูบแก้ริดสีดวงจมูก แหล่งที่มา : กมลทิพย์ กสิภาร์. การสำรวจและการเก็บรวบรวมพันธุ์พืชในท้องถิ่น. นครราชสีมา : ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฏ นครราชสีมา, 2539.

หนามพรม


หนามพรม ชื่อวิทยาศาสตร์ Carissa cochinchinensis Pierre วงศ์ Apocynaceae เป็นไม้พุ่ม พบตามป่าละเมาะริมทาง มีน้ำยางสีขาว สูง 4-5 เมตร มีหนามที่กิ่งก้าน ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามรูปไข่ กลีบดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสีขาว มีกลิ่นหอม ผลสดรูปกระสวย เมื่อสุกสีม่วงดำ สรรพคุณทางยา เป็นสมุนไพร ใช้แก่นบำรุงกำลังทำให้ร่างกายแข็งแรง แหล่งที่มา : กมลทิพย์ กสิภาร์. การสำรวจและการเก็บรวบรวมพันธุ์พืชในท้องถิ่น. นครราชสีมา : ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฏ นครราชสีมา, 2539.

ตำลึง



ตำลึง ชื่อวิทยาศาสตร์ Coccinia grandis (L.) Voigt วงศ์ Cucurbitaceae ชื่ออื่นๆ ตำลึง (กลาง, นครราขสีมา) ผักแคบ (เหนือ) ผักตำนิน (อีสาน) ตำลึง เป็นไม้เถาตามข้อมีมือเกาะเพื่อยึดติดกับต้นไม้อื่น ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่คนละต้น ดอกขาว ผลคล้ายแตงกวาสีเขียวลายขาว เมื่อแก่จะเป็นสีแดงสด ตำลึงเป็นอาหาร สมุนไพรที่มีประสิทธิภาพสูงโดยใช้ใบและเถา สรรพคุณ ซึ่งมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด ได้มีการทดลองใช้น้ำที่คั้นจากต้นและใบตำลึงและสารสกัดตำลึงด้วยแอลกอออล์ 95 % ต่างก็มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในสัตว์ทดลอง นอกจากนี้มีการศึกษาในคนโดยให้คนที่เป็นเบาหวานทั้งชายและหญิงรับประทานตำลึงวันละ 2 ครั้ง พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลง นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาภายนอก แก้แพ้ ,คัน, อักเสบ แมลงกัดต่อย เช่น ยุงกัด โดยเอาใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาดตำให้ละเอียดผสมน้ำลงไปเล็กน้อย คั้นน้ำมาทาบริเวณที่มีอาการ พอแห้งทาซ้ำบ่อย ๆจนกว่าจะหาย นอกจากตำลึงจะใช้เป็นยาสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพแล้ว ยังเป็นพืชที่มีคุณค่าทางอาหารสูงด้วย เพราะประกอบด้วยวิตามินเอ ซึ่งมีฤทธิ์บำรุงสายตา แล้วยังมีแร่ธาตุที่สำคัญหลายชนิดโดยเฉพาะ แคลเซี่ยม ซึ่งจะช่วยบำรุงกระดูกและฟัน และยังมีธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก นอกจากนี้ยังมีสารอาหารพวกโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และวิตามินอื่น ๆ จึงนับว่าเป็นอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกาย และเมื่อประกอบอาหารยังมีรสชาติอร่อยอีกด้วย มีการทดลองพบว่าใบและเถาตำลึง มีฤทธิ์ช่วยย่อยแป้งได้ จึงเป็นผลดีที่ใช้เป็นอาหารเพราะเท่ากับรับประทาน ยาช่วยย่อยไปด้วยทำให้ไม่อืดแน่นท้อง เนื่องจากอาหารไม่ย่อย แต่ในกรณีนี้ต้องรับประทานตำลึงสด เพราะน้ำย่อยในใบตำลึงจะถูกทำลายได้ง่ายโดยความร้อน

ตะไคร้



ตะไคร้ (Lemon Grass) ชื่อวิทยาศาสตรส์ Cymbopogon citratus (DC.) วงศ์ Poaceae ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 0.75-1.2 เมตร เหง้าใต้ดินมีกลิ่นเฉพาะ ข้อและปล้องสั้นมาก แตกเป็นกอ กาบใบสีขาวนวลหรือขาวปนม่วง ยาวหนาหุ้มข้อ และ ปล้องไว้แน่น ใบเดี่ยว เรียงสลับ กว้าง 1-2 ซม. ยาว 70-100 ซม. แผ่นใบและขอบใบสากและคม มีดอกยาก ส่วนที่ใช้ ลำต้นและโคนกาบใบ สาระสำคัญ มีน้ำมันหอมระเหย ชื่อน้ำมันตะไคร้ (Lemon Grass oil) ซึ่งได้รับจากการกลั่นไอน้ำจะได้ประมาณ 0.2-0.4 % ส่วนใหญ่ประกอบด้วย Citral นอกจากนี้มี Eugenol, geraniol, linalool, menthol, nerolidol, camphor, citronellol เป็นต้น ใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ประเทศใกล้เคียงเช่น จีนใช้ geraniol จากน้ำมันตะไคร้บรรเทาอาการปวดท้องเพราะลดการบีบตัวของลำไส้ พบว่าน้ำมันตะไคร้มีฤทธิ์ฆ่าแบคทีเรียด้วย ทดสอบไม่พบความเป็นพิษ แม้จะให้ในขนาด 20 เท่าของขนาดที่ใช้เป็นอาหารก็ตาม ขนาดและวิธีใช้ - ใช้ลำต้นและโคนใบแก่สด ทุบพอแหลก ประมาณ 1 กำมือ (40-60 กรัม) ชงเอาน้ำดื่มวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารหรือใช้ประกอบอาหาร รักษาอาการ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด และเป็นยาขัยลม - ต้นสดแก่ (ตัดใบทิ้ง) หรือเหง้าแก่ มีน้ำมันหอมระเหยประมาณสูง ตำรายาไทยใช้เป็นยาขับปัสสาวะ น้ำสกัดต้นมีฤทธิ์ลดความดันโลหิตในหนูที่ชักทำให้เกิดความดันสูง และอัตราการเต้นของหัวใจ น้ำต้มใบมีผลลดความดันโลหิต ขับปัสสาวะอย่างอ่อนๆ และลดอาการอักเสบ เมื่อให้สัตว์ทดลองกิน โดยใช้ต้นสด วันละ 1 กำมือ หรือ หนัก 40-60 กรัม ต้นกับน้ำ 3-4 ถ้วยชา แบ่งดื่มวันละ 3 ครั้ง ครั้ง 1 ถ้วยชา (75มิลลิลิตร) ก่อนอาหาร เหง้า ฝานบางๆ คั่วไฟอ่อนพอเหลือง ครั้งละ 1 หยิบมือ ชงกับน้ำ 1 ถ้วยชา ริมเฉพาะส่วนใสดื่มจนหมด วันละ 3 ครั้ง เมื่อปัสสาวะคล่องให้หยุดยา