วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2553

สมาชิกในกลุ่ม

สมาชิกในกลุ่ม
1 เด็กหญิงประภาพรรณ สิงห์เมือง เลขที่41
2 เด็กหญิงกมลวรรณ สุขทวี เลขที่ 32
3 เด็กหญิงวริญญา ตรีบาตร เลขที่ 38
4 เด็กหญิงภานิดา ศรีชมภู เลขที่ 36
ชั้น ม. 2/1

วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

มะค่าโมง


ชื่อ มะค่าโมง
เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ พบในป่าดิบแล้ง ผลเป็นฝักแบบ เปลือกแข็งหนาสีน้ำตาลดํา เมล็ดสีน้ำตาลมีเยื่ยสีส้ม
สรรพคุณทางยา เป็นสมุนไพรและพืชเศรษฐกิจ ลำต้นบริเวณที่เป็นปุ่ม ซึ่งมีรสเบื่อเมา ถ่ายพยาธิ และรักษาโรคผิวหนัง
ยาพื้นบ้านใช้เปลือกต้น ผสมกับเปลือกมะค่าแต้ อย่างละครึ่งกํามือ ทําเป็นยาประคบแก้ฟกช้ำ ปวดบวม เป็นยาสมานแผล

ขี้เหล็ก

ชื่อ ขี้เหล็ก
ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้น ที่ต้นอ่อนจะเป็นขนและเมื่อแก่จะเกลี้ยง ใบติดกับต้นแยยสลับ ดอกออกเป็นช่อใหญ่ตามใบยอด
หรือตามมุมก้านใบ แต่ละดอกมีสีเหลือง
ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบสด
สรรพคุณ รักษาโรคผิวหนังจำพวกหิด
วิธีใช้ ใบสดผสมกับหัวกระเทียม โขลกให้ละเอียดผสมนำมันพืชพอเปียกทาบ่อยๆแล้วอาการจะดีขึ้น

สะแกแสง


สะแกแสง ชื่อวิทยาศาสตร์ Cananga latifolia Finet Gagnep วงศ์ Annonaceae เป็นไม้ต้นสูง 10-20 เมตร กิ่งอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาล ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่กว้างแกมขอบขนานผงใบ ด้านบนมีขนละเอียดกว้าง 8.5-12 ซม. ยาว 9 -15 ซม. ดอกช่อออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีเขียวอ่อน กลิ่นหอม ผลกลุ่มมีผลย่อยหลายผลรวมกันเป็นช่อ ผลย่อยรูปยาวรี สรรพคุณทางยา เป็นสมุนไพร ใช้แก่นมีรสเบื่อเมา แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน เช่น กลาก เกลื้อน โรคเรื้อน น้ำเหลืองเสีย หรือ หูด ม้วนรวมกับยาสูบ สูบแก้ริดสีดวงจมูก แหล่งที่มา : กมลทิพย์ กสิภาร์. การสำรวจและการเก็บรวบรวมพันธุ์พืชในท้องถิ่น. นครราชสีมา : ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฏ นครราชสีมา, 2539.

หนามพรม


หนามพรม ชื่อวิทยาศาสตร์ Carissa cochinchinensis Pierre วงศ์ Apocynaceae เป็นไม้พุ่ม พบตามป่าละเมาะริมทาง มีน้ำยางสีขาว สูง 4-5 เมตร มีหนามที่กิ่งก้าน ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามรูปไข่ กลีบดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสีขาว มีกลิ่นหอม ผลสดรูปกระสวย เมื่อสุกสีม่วงดำ สรรพคุณทางยา เป็นสมุนไพร ใช้แก่นบำรุงกำลังทำให้ร่างกายแข็งแรง แหล่งที่มา : กมลทิพย์ กสิภาร์. การสำรวจและการเก็บรวบรวมพันธุ์พืชในท้องถิ่น. นครราชสีมา : ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฏ นครราชสีมา, 2539.

ตำลึง



ตำลึง ชื่อวิทยาศาสตร์ Coccinia grandis (L.) Voigt วงศ์ Cucurbitaceae ชื่ออื่นๆ ตำลึง (กลาง, นครราขสีมา) ผักแคบ (เหนือ) ผักตำนิน (อีสาน) ตำลึง เป็นไม้เถาตามข้อมีมือเกาะเพื่อยึดติดกับต้นไม้อื่น ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่คนละต้น ดอกขาว ผลคล้ายแตงกวาสีเขียวลายขาว เมื่อแก่จะเป็นสีแดงสด ตำลึงเป็นอาหาร สมุนไพรที่มีประสิทธิภาพสูงโดยใช้ใบและเถา สรรพคุณ ซึ่งมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด ได้มีการทดลองใช้น้ำที่คั้นจากต้นและใบตำลึงและสารสกัดตำลึงด้วยแอลกอออล์ 95 % ต่างก็มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในสัตว์ทดลอง นอกจากนี้มีการศึกษาในคนโดยให้คนที่เป็นเบาหวานทั้งชายและหญิงรับประทานตำลึงวันละ 2 ครั้ง พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลง นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาภายนอก แก้แพ้ ,คัน, อักเสบ แมลงกัดต่อย เช่น ยุงกัด โดยเอาใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาดตำให้ละเอียดผสมน้ำลงไปเล็กน้อย คั้นน้ำมาทาบริเวณที่มีอาการ พอแห้งทาซ้ำบ่อย ๆจนกว่าจะหาย นอกจากตำลึงจะใช้เป็นยาสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพแล้ว ยังเป็นพืชที่มีคุณค่าทางอาหารสูงด้วย เพราะประกอบด้วยวิตามินเอ ซึ่งมีฤทธิ์บำรุงสายตา แล้วยังมีแร่ธาตุที่สำคัญหลายชนิดโดยเฉพาะ แคลเซี่ยม ซึ่งจะช่วยบำรุงกระดูกและฟัน และยังมีธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก นอกจากนี้ยังมีสารอาหารพวกโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และวิตามินอื่น ๆ จึงนับว่าเป็นอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกาย และเมื่อประกอบอาหารยังมีรสชาติอร่อยอีกด้วย มีการทดลองพบว่าใบและเถาตำลึง มีฤทธิ์ช่วยย่อยแป้งได้ จึงเป็นผลดีที่ใช้เป็นอาหารเพราะเท่ากับรับประทาน ยาช่วยย่อยไปด้วยทำให้ไม่อืดแน่นท้อง เนื่องจากอาหารไม่ย่อย แต่ในกรณีนี้ต้องรับประทานตำลึงสด เพราะน้ำย่อยในใบตำลึงจะถูกทำลายได้ง่ายโดยความร้อน

ตะไคร้



ตะไคร้ (Lemon Grass) ชื่อวิทยาศาสตรส์ Cymbopogon citratus (DC.) วงศ์ Poaceae ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 0.75-1.2 เมตร เหง้าใต้ดินมีกลิ่นเฉพาะ ข้อและปล้องสั้นมาก แตกเป็นกอ กาบใบสีขาวนวลหรือขาวปนม่วง ยาวหนาหุ้มข้อ และ ปล้องไว้แน่น ใบเดี่ยว เรียงสลับ กว้าง 1-2 ซม. ยาว 70-100 ซม. แผ่นใบและขอบใบสากและคม มีดอกยาก ส่วนที่ใช้ ลำต้นและโคนกาบใบ สาระสำคัญ มีน้ำมันหอมระเหย ชื่อน้ำมันตะไคร้ (Lemon Grass oil) ซึ่งได้รับจากการกลั่นไอน้ำจะได้ประมาณ 0.2-0.4 % ส่วนใหญ่ประกอบด้วย Citral นอกจากนี้มี Eugenol, geraniol, linalool, menthol, nerolidol, camphor, citronellol เป็นต้น ใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ประเทศใกล้เคียงเช่น จีนใช้ geraniol จากน้ำมันตะไคร้บรรเทาอาการปวดท้องเพราะลดการบีบตัวของลำไส้ พบว่าน้ำมันตะไคร้มีฤทธิ์ฆ่าแบคทีเรียด้วย ทดสอบไม่พบความเป็นพิษ แม้จะให้ในขนาด 20 เท่าของขนาดที่ใช้เป็นอาหารก็ตาม ขนาดและวิธีใช้ - ใช้ลำต้นและโคนใบแก่สด ทุบพอแหลก ประมาณ 1 กำมือ (40-60 กรัม) ชงเอาน้ำดื่มวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารหรือใช้ประกอบอาหาร รักษาอาการ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด และเป็นยาขัยลม - ต้นสดแก่ (ตัดใบทิ้ง) หรือเหง้าแก่ มีน้ำมันหอมระเหยประมาณสูง ตำรายาไทยใช้เป็นยาขับปัสสาวะ น้ำสกัดต้นมีฤทธิ์ลดความดันโลหิตในหนูที่ชักทำให้เกิดความดันสูง และอัตราการเต้นของหัวใจ น้ำต้มใบมีผลลดความดันโลหิต ขับปัสสาวะอย่างอ่อนๆ และลดอาการอักเสบ เมื่อให้สัตว์ทดลองกิน โดยใช้ต้นสด วันละ 1 กำมือ หรือ หนัก 40-60 กรัม ต้นกับน้ำ 3-4 ถ้วยชา แบ่งดื่มวันละ 3 ครั้ง ครั้ง 1 ถ้วยชา (75มิลลิลิตร) ก่อนอาหาร เหง้า ฝานบางๆ คั่วไฟอ่อนพอเหลือง ครั้งละ 1 หยิบมือ ชงกับน้ำ 1 ถ้วยชา ริมเฉพาะส่วนใสดื่มจนหมด วันละ 3 ครั้ง เมื่อปัสสาวะคล่องให้หยุดยา

ขิง



ขิง ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber officinale Rosc. วงศ์ Zingiberaceae ชื่อท้องถิ่น ขิงเผือก(เชียงใหม่)ขิงแกลง ขิงแดง (จันทบุรี) ลักษณะของพืช ขิงเป็นพืชล้มลุก มีแล่งใต้ดิน แง่งจะแตกแขนงออกมาคล้ายนิ้วมือ เนื้อในเป็นสีเหลืองแกมเขียว ใบสีเขียวใบไม้ เรียงแคบ ปลายแหลมดอหเป็นช่อขนาดเล็กดอกสีเหลืองจะบานจากต้นไปหาปลาย การปลูก ขิงชอบดินเหนียวปนทราย ชุ่มชื้นระบายน้ำได้ดี ใช้แง่งที่ชำเอามาปลูก โดยวางให้ด้านที่แตกหน่อตั้งขึ้น ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าแก่สด ช่วงเวลาที่เก็บยา เก็บเกี่ยวในช่วงอายุ 11-12 เดือน รสและสรรพคุณยาไทย รสเผ็ดร้อน แก้จุกเสียด แก้เสมหะ บำรุงธาตุ แก้คลื่นเหียนอาเจียน ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เหง้าขิงมีน้ำมันหอมระเหย ในน้ำมันนี้มีสารเคมีหลายชนิดด้วยกัน ที่สำคัญมี Zingiberine, Zingiberol, Citral นอกจากนี้น้ำมันหอมระเหยยังมีสารที่ชื่อ Oleo- resin อยู่ในปริมาณสูง เป็นสารที่ทำให้ ขิงมีรสเผ็ดและกลิ่นหอม น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดหนอง สารสกัดจากขิงป้องกันการคลื่นไส้ อาเจียนได้ วิธีใช้ อาการท้องเสีย ท้องเฟ้อ แน่นจุกคลื่นไส้ อาเจียน ใช้เหง้าขิงสดขนาดเท่าหัวแม่มือทุบให้แตกต้มเอาน้ำมาดื่มได้ อาการไอ มีเสมหะ ให้ฝนขิงใช้กับมะนาว ใช้กวาดคอบ่อยๆ คุณค่าทางอาหาร ขิงอ่อนเอามาปรุงอาหารได้มากมายหลายอย่าง เช่นไก่ผัดขิง ใส่ในต้มส้มปลากระบอก โจ๊กหมู โจ๊กไก่ โจ๊กกุ้งหรือโจ๊กอะไรก็ตามได้ทั้งนั้น ขิงเป็นพืชล้มลุกที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ขึ้นเป็นกอ ใบเดี่ยวยาว ดอกเป็นช่อสีขาวเหลืองแทงขึ้นมาจากเหง้าที่อยู่ใต้ดิน เหง้าขิงมีสีนวลกลิ่นฉุน ใช้แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน โดยไปช่วยกระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ คือ สารที่อยู่ในน้ำมันหอมระเหยขิง วิธีใช้ ใช้ขิงแก่ขนาดเท่าหัวแม่มือทุบพอแตก หรือฝานเป็นแว่น ๆ ชงน้ำร้อน 1 ถ้วย ปิดฝาไว้ 5 นาที แบ่งรับประทาน 3 ครั้ง หลังอาหาร จะช่วยขับลมได้ดีมาก ปัจจุบัน เพื่อความสะดวกมีการทำเป็นขิงผงแห้งบรรจุซองใช้ชงน้ำได้เลยแบบชา มีการวิจัยที่ยืนยันว่าขิงมีฤทธิ์บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนทั้งในสัตว์ทดลองและในคน และมีฤทธิ์ลดความดันในสัตว์ทดลอง นอกจากนี้ยังใช้ แก้ไอ ชนิดมีเสมหะ โดยใช้เหง้าขิงแห้งฝนกับน้ำมะนาว หรือใช้เหง้าสดตำคั้นน้ำผสมมะนาว เติมเกลือเล็กน้อยหรือกวาดคอหรือจิบบ่อย ๆจะช่วยบรรเทาอาการไอได้ดี ปัจจุบันนี้มีการสกัดสารจากขิงไปทำยาต่าง ๆ เช่น ยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ยาแก้อักเสบ ยาแก้เมารถเมาเรือและยาสีฟัน ข้อควรระวัง ถ้าใช้น้ำสกัดจากขิง ที่เข้มข้นมาก ๆ จะมีฤทธิ์ตรงกันข้าม คือไประงับการบีบตัวของลำไส้แทน “ขิง" มีคุณค่าทางสมุนไพร ความดีของ ขิง นั้นมีอยู่มากมาย เป็นยอดสมุนไพรอย่างหนึ่ง ที่ใครๆก็รู้จักกันดีมาก "ขิง" มีสรรพคุณในทางแก้ท้องขึ้น ท้องอึด ท้องเฟ้อ เรอเหม็นเปรี้ยว เป็นสมุนไพรที่ทำให้ เจริญอาหารอีกด้วย และสามารถช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ช่วยย่อยอาหารได้ดี ช่วยขับลมด้วยขิงแก่ เอามาเป็นเครื่องดื่มทั้ง ร้อน และ เย็น ซึ่งมีประโยชน์แก่มนุษย์เราไม่น้อย เป็นยาสมุนไพรที่วิเศษ วิธีปรุงน้ำขิง - ขิงแก่ล้างสะอาด 1 ก.ก. - น้ำสะอาด 3 ลิตร - น้ำตาลทรายแดง เอาขิงแก่ที่ล้างทำความสะอาด ล้างสิ่งสกปรกให้หมด แล้วทุบพอแตกใส่หม้อต้ม ที่ใส่น้ำสะอาดเอาไว้ก่อน จัดการต้มขิงให้เดือด แล้วค่อยๆลดไฟเคียวให้นานๆ จนขิงละลายน้ำผสมออกมา จนสีน้ำเป็นสีเหลืองอ่อน เคี่ยวต่อไปสัก 15 นาที แล้วก็ยกลงได้ &ก็ผสมเกลือน้ำตาลทรายแดงใส่น้ำขิงเวลาร้อนๆลงไป ดื่มได้ทั้งเวลาร้อนและเย็น
Copyleft © 2001 rLocal : Academic Resources CenterAll trademarks and copyrights on this page are owned by their respective owners.

ขิง



ขิง ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber officinale Rosc. วงศ์ Zingiberaceae ชื่อท้องถิ่น ขิงเผือก(เชียงใหม่)ขิงแกลง ขิงแดง (จันทบุรี) ลักษณะของพืช ขิงเป็นพืชล้มลุก มีแล่งใต้ดิน แง่งจะแตกแขนงออกมาคล้ายนิ้วมือ เนื้อในเป็นสีเหลืองแกมเขียว ใบสีเขียวใบไม้ เรียงแคบ ปลายแหลมดอหเป็นช่อขนาดเล็กดอกสีเหลืองจะบานจากต้นไปหาปลาย การปลูก ขิงชอบดินเหนียวปนทราย ชุ่มชื้นระบายน้ำได้ดี ใช้แง่งที่ชำเอามาปลูก โดยวางให้ด้านที่แตกหน่อตั้งขึ้น ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าแก่สด ช่วงเวลาที่เก็บยา เก็บเกี่ยวในช่วงอายุ 11-12 เดือน รสและสรรพคุณยาไทย รสเผ็ดร้อน แก้จุกเสียด แก้เสมหะ บำรุงธาตุ แก้คลื่นเหียนอาเจียน ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เหง้าขิงมีน้ำมันหอมระเหย ในน้ำมันนี้มีสารเคมีหลายชนิดด้วยกัน ที่สำคัญมี Zingiberine, Zingiberol, Citral นอกจากนี้น้ำมันหอมระเหยยังมีสารที่ชื่อ Oleo- resin อยู่ในปริมาณสูง เป็นสารที่ทำให้ ขิงมีรสเผ็ดและกลิ่นหอม น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดหนอง สารสกัดจากขิงป้องกันการคลื่นไส้ อาเจียนได้ วิธีใช้ อาการท้องเสีย ท้องเฟ้อ แน่นจุกคลื่นไส้ อาเจียน ใช้เหง้าขิงสดขนาดเท่าหัวแม่มือทุบให้แตกต้มเอาน้ำมาดื่มได้ อาการไอ มีเสมหะ ให้ฝนขิงใช้กับมะนาว ใช้กวาดคอบ่อยๆ คุณค่าทางอาหาร ขิงอ่อนเอามาปรุงอาหารได้มากมายหลายอย่าง เช่นไก่ผัดขิง ใส่ในต้มส้มปลากระบอก โจ๊กหมู โจ๊กไก่ โจ๊กกุ้งหรือโจ๊กอะไรก็ตามได้ทั้งนั้น ขิงเป็นพืชล้มลุกที่มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ขึ้นเป็นกอ ใบเดี่ยวยาว ดอกเป็นช่อสีขาวเหลืองแทงขึ้นมาจากเหง้าที่อยู่ใต้ดิน เหง้าขิงมีสีนวลกลิ่นฉุน ใช้แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน โดยไปช่วยกระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ คือ สารที่อยู่ในน้ำมันหอมระเหยขิง วิธีใช้ ใช้ขิงแก่ขนาดเท่าหัวแม่มือทุบพอแตก หรือฝานเป็นแว่น ๆ ชงน้ำร้อน 1 ถ้วย ปิดฝาไว้ 5 นาที แบ่งรับประทาน 3 ครั้ง หลังอาหาร จะช่วยขับลมได้ดีมาก ปัจจุบัน เพื่อความสะดวกมีการทำเป็นขิงผงแห้งบรรจุซองใช้ชงน้ำได้เลยแบบชา มีการวิจัยที่ยืนยันว่าขิงมีฤทธิ์บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนทั้งในสัตว์ทดลองและในคน และมีฤทธิ์ลดความดันในสัตว์ทดลอง นอกจากนี้ยังใช้ แก้ไอ ชนิดมีเสมหะ โดยใช้เหง้าขิงแห้งฝนกับน้ำมะนาว หรือใช้เหง้าสดตำคั้นน้ำผสมมะนาว เติมเกลือเล็กน้อยหรือกวาดคอหรือจิบบ่อย ๆจะช่วยบรรเทาอาการไอได้ดี ปัจจุบันนี้มีการสกัดสารจากขิงไปทำยาต่าง ๆ เช่น ยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ยาแก้อักเสบ ยาแก้เมารถเมาเรือและยาสีฟัน ข้อควรระวัง ถ้าใช้น้ำสกัดจากขิง ที่เข้มข้นมาก ๆ จะมีฤทธิ์ตรงกันข้าม คือไประงับการบีบตัวของลำไส้แทน “ขิง" มีคุณค่าทางสมุนไพร ความดีของ ขิง นั้นมีอยู่มากมาย เป็นยอดสมุนไพรอย่างหนึ่ง ที่ใครๆก็รู้จักกันดีมาก "ขิง" มีสรรพคุณในทางแก้ท้องขึ้น ท้องอึด ท้องเฟ้อ เรอเหม็นเปรี้ยว เป็นสมุนไพรที่ทำให้ เจริญอาหารอีกด้วย และสามารถช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ช่วยย่อยอาหารได้ดี ช่วยขับลมด้วยขิงแก่ เอามาเป็นเครื่องดื่มทั้ง ร้อน และ เย็น ซึ่งมีประโยชน์แก่มนุษย์เราไม่น้อย เป็นยาสมุนไพรที่วิเศษ วิธีปรุงน้ำขิง - ขิงแก่ล้างสะอาด 1 ก.ก. - น้ำสะอาด 3 ลิตร - น้ำตาลทรายแดง เอาขิงแก่ที่ล้างทำความสะอาด ล้างสิ่งสกปรกให้หมด แล้วทุบพอแตกใส่หม้อต้ม ที่ใส่น้ำสะอาดเอาไว้ก่อน จัดการต้มขิงให้เดือด แล้วค่อยๆลดไฟเคียวให้นานๆ จนขิงละลายน้ำผสมออกมา จนสีน้ำเป็นสีเหลืองอ่อน เคี่ยวต่อไปสัก 15 นาที แล้วก็ยกลงได้ &ก็ผสมเกลือน้ำตาลทรายแดงใส่น้ำขิงเวลาร้อนๆลงไป ดื่มได้ทั้งเวลาร้อนและเย็น
Copyleft © 2001 rLocal : Academic Resources CenterAll trademarks and copyrights on this page are owned by their respective owners.

กระเทียม


กระเทียม ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium sativum Linn. วงศ์ Alliaceae พืชล้มลุก สูง 40 – 80 ซม. มีหัวใต้ดิน (bulb) แบ่งเป็นกลีบเล็กๆ ได้หลายอันแต่ละกลีบมีกาบใบแห้งๆ หุ้มไว้ในลักษณะแคบยาว กว้าง 1.2-5 ซม. ยาว 30-60 ซม. ปลายแหลม ดอกช่อ แทงออกจากลำต้นใต้ดินดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบดอกมี 6 อัน มีสีชมพู่ ผลแห้ง แตกได้สามารถปลูกได้ทั้งภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระเทียมเป็นที่รู้จักกันดีในวงการแพทย์แผนโบราณมาช้านานแล้ว นอกจากจะใช้ประกอบอาหารแล้ว ยังมีคุณค่าในการรักษาและป้องกันโรคได้หลายโรคอย่างมีประสิทธิภาพ มีรายงานวิจัยหลายฉบับชี้ให้เห็นว่ากระเทียมมีฤทธิในการรักษาและป้องกันโรคได้ดี นอกเหนือจากใช้เป็นยาขับลมและรักษากลากซึ่งใช้กันมานานแล้ว กระเทียมสามารถลดปริมาณ โคเลสเตอรอลในเลือดได้ มีนักวิจัยได้ทดลองใช้กระเทียมลดปริมาณโคเลสเตอรอลทั้งในสัตว์ทดลองและในคนกันอย่างมากมาย สรุปได้ว่ากระเทียมสด,สารสกัดกระเทียมด้วยแอลกอฮอล์,กระเทียมผง และน้ำมันหอมระเหยจากกระเทียม มีฤทธิ์ทั้งรักษาและป้องกันไม่ให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงได้เป็นอย่างดี สรรพคุณ 1. รักษาและป้องกันไม่ให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูง วิธีใช้ ในคนไข้ที่มีระดับโคเลสเตอรอล ในเลือดสูงและคนไข้โรคหัวใจ ให้กระเทียมสดครั้งละ 5 กรัม วันละ 3 เวลา พร้อมอาหารหรือหลังอาหารเป็นเวลา 1เดือน ปริมาณโคเลสเตอรอลในเลือดจะลดลงอย่างชัดเจน และเมื่อระดับไขมัน ในเลือดอยู่ในระดับปกติแล้วให้รับประทานเหลือเพียงวันละ 5 กรัมก็จะสามารถรักษาระดับโคเลสเตอรอลในเลือด ให้ปกติได้ตลอดไป แต่ถ้าหยุดไป 1 เดือน ระดับโคเลสเตอรอลจะสูงขึ้นมาอีก ในคนปกติถ้าได้รับกระเทียมวันละ 5 กรัม ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดจะลดลงเพียงเล็กน้อย การใช้กระเทียมสดนั้นดีที่สุด แต่ถ้าคนที่ไม่ชอบรับประทานกระเทียมสดอาจใช้ กระเทียมผง สารสกัดกระเทียม หรือน้ำมันระเหยที่บรรจุแคปซูล ซึ่งมีขายในท้องตลาด โดยใช้ครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 3 เวลาหลังอาหารก็ได้ 2. หัวกระเทียมมีฤทธิ์ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โรคหลอดเลือดอุดตันเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โดยกระเทียมมีคุณสมบัติ ลดการจับตัวของเกร็ดเลือด และเพิ่มการสลายไฟบริน สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ คือ เมทิลแอลิล ไตรซัลไฟด์ ( Methyl allyl trisulfide) และ กระเทียมยังมีฤทธิ์สลายไฟบริน ด้วย วิธีใช้ เช่นเดียวกับการลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด 3. หัวกระเทียมมีฤทธิ์ลดความดันเลือด ได้มีการวิจัยทั้งในสัตว์ทดลองและในคนโดยนักวิจัยหลายกลุ่มแล้วพบว่า กระเทียมสด กระเทียมผง และสารสกัดกระเทียมด้วยน้ำหรือแอลกอฮอล์ (สารคนละชนิดกับที่ออกฤทธิ์ลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด และป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตัน) มีฤทธิ์ลดความดันโลหิตได้ วิธีใช้ เช่นเดียวกับการลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด 4. หัวกระเทียมมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด สารสำคัญที่ออกฤทธิ์คือ อัลลิซิน (allicin) โดยใช้กระเทียมสด กระเทียมผง สารสกัดกระเทียมด้วยแอลกอฮอล์ หรือคลอโรฟอร์ม มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองที่ถูกทำให้เป็นโรคเบาหวานได้ วิธีใช้ เช่นเดียวกับการลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด หัวกระเทียมมีฤทธ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคกลาก ได้มีการวิจัยแล้วพบว่า กระเทียมมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคกลาก โรคลิ้นเป็นฝ้าขาว โดยสารที่ออกฤทธิ์คือ "อัลลิซิน" วิธีใช้ ใช้หัวกระเทียมสดฝานทาบริเวณที่เป็นบ่อย ๆ 6. ใช้รักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ซึ่งเป็นผลจากสารสำคัญต่างๆ ในน้ำมันหอมระเหย ช่วยต้านการเกิดแผลในกะเพาะอาหาร โดยมีกลไกการออกฤทธิ์เกี่ยวข้องการสร้างสาร Prostaglandin ตามธรรมชาติ allicin มีในหัวกระเทียมน้อยมาก ส่วนใหญ่อยู่ในรูป alliin เมื่อหั่นกระเทียม อากาศจะทำให้เอนไซม์ alliinase ย่อย alliin ให้เป็น allicin ซึ่งเป็นสารที่ไม่คงตัว สลายตัวได้ง่ายโดยเฉพาะยิ่งถูกความร้อน ดังนั้นกระเทียมเจียว กระเทียมดอง จะไม่มีผลเป็นยา การทดลองทางคลินิกต่อฤทธิ์ขับลมโดยให้ผู้ป่วยกินยาเม็ดสารสกัดกระเทียม 0.64 กรัม วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารกลางวันและเย็น ติดต่อกัน 2 สัปดาห์ พบว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ วิธีใช้ ใช้กระเทียม 5-7 กลีบ ซอยละเอียดรับประทานหลังอาหารทุกมื้อ ในกระเทียมสดจะมีสารสำคัญครบทุกชนิดจะดีกว่าการใช้สารสกัดกระเทียม กระเทียมผง หรือน้ำมันหอมระเหย ฉะนั้นถ้ารับประทานกระเทียมสดในลักษณะอาหารเสริมสุขภาพจะดีที่สุด กระเทียมถ้าเก็บไว้นาน หรือใช้ความร้อนในการปรุงเป็นอาหาร สารที่ออกฤทธิ์จะถูกทำลายไปบ้าง ดังนั้นการรับประทานกระเทียมสดจะดีที่สุด ข้อควรระวัง ไม่ควรรับประทานกระเทียมสด ๆ ขณะท้องว่าง เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะและ ลำไส้ได้ ควรรับประทานไปพร้อมกับอาหารหรือหลังอาหาร

มะระขี้นก



มะระขี้นก ชื่อวิทยาศาสตร์ Momordica Charantia Linn. วงศ์ Cucurbitaceae ไม้ล้มลุก เลื้อยพันกับต้นไม้ หรือ ไม้อื่น ลำต้นเป็นเหลี่ยมสีเขียว มีขนนุ่นปกคลุม ไม่มีเนื้อไม้ มีมือเกาะเกิดตามข้อ ที่ซอกใบ พยุงลำต้น ใบเป็นใบเดี่ยวออกตามข้อ รูปหัวใจ มีรอยเว้าลึก 5 พู ขนาดกว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้เป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกยาว 4-5 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง โคนรวมกันเป็นหลอด ปลายแยก 5 แฉก รูปหอก สีเหลืองอ่อน กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองติดที่ฐานเล็กน้อย ปลายแยกกัน รูปไข่ เกสรเพศผู้ 3 อัน ดอกเพศเมีย รังไข่หัวท้ายแหลม มีก้านเกสรเพศเมีย 3 เส้น ผลเดี่ยวกลมยาว เมื่อสุกมีสีเหลืองส้ม แตกเป็น 3 แฉก ม้วนจากปลายมาหาโคน พบตามป่าโปร่ง ทุ่งนา ที่รกร้าง ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ยอด ใบ และผล นำมาต้มรับประทานกับน้ำพริก ผล รับประทานสด กับน้ำพริก สรรพคุณค่าทางสมุนไพร น้ำมะระขี้นก จะช่วยให้เกิดอาการเจริญอาหารได้ดีมาก ดื่มน้ำมะระขี้นกแล้วยังสามารถช่วยแก้โรคเบาหวานได้อีกด้วย วิธีปรุงน้ำมะระขี้นก - เนื้อมะระขี้นกหั่นตากแห้ง 1 ถ้วนตวง - ใบเตยหอมตากแห้งคั่ว 1 ถ้วยตวง - น้ำสะอาด 1 กระติก เอามะระขี้นกมาล้างให้สะอาด ผ่าซีกออกจากกันแคะเอาเมล็ดออกไปให้หมด เอาไปตากแห้งให้แห้งสนิทพอแห้งแล้วก็เอามาคั่วให้เหลืองกรอบ เสร็จแล้วก็นำมาใส่ กระติกน้ำร้อนพอเดือดปล่อยให้เย็นลงใช้ดื่มเป็นน้ำชาได้อย่างวิเศษ

หอม









หอมหรือต้นหอม แก้หวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล โดยการใช้ใบ หรือหัวทุบพอแตกใส่ในเหล้าขาว บรรเทาอาการหวัด ดีเชียวแหละ

ฟ้าทะลายโจร แก้ไข้ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ลดอาการเจ็บคอ และแก้อาการท้องเสียชนิดไม่ติดเชื้อ ใบสดมีประสิทธิผลในการบรรเทาอาการหวัด และต้านการอักเสบแต่มีรสขมไปนิด


กระเจี๊ยบแดง เมื่อนำมาทำเป็นน้ำกระเจี๊ยบดื่มจะช่วยขับปัสสาวะ แก้นิ่ว ลดไข้ แก้ไอ ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด ลดการกระหายน้ำได้เป็นอย่างดีเลยแหละ




ผักชีช่วยเจริญอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร ขับเหงื่อ ละลายเสมหะแก้อาการจุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือจะนำผักชีไปต้มน้ำดื่ม เพื่อแก้สะอึกแก้ไอ แก้หวัด ก็ได้เหมือนกันค่ะ




มะขามมีวิตามินเอและซี นอกจากนั้น ยังมีวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และเกลือแร่ชนิดต่างๆ ช่วยแก้อาการท้องผูก เป็นยาระบายแก้ไอขับเสมหะหรือถ้าไม่มีมะขามสดก็ใช้มะขามเปียกก็ได้นะค่ะ

พืชที่ใช้แต่งอาหาร




พืชที่ใช้แต่งสีอาหาร หรือให้สีย้อม
ชนพื้นบ้านรู้จักนำส่วนต่างๆ ของพืชหลายชนิดที่ให้สีมาใช้แต่งสีอาหาร อันเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่ไม่เป็นพิษภัยต่อร่างกาย หรือนำพืชที่ให้สีย้อมมาย้อมผ้า แห อวน หรือหนัง โดยเฉพาะผ้าพื้นเมืองจำพวกผ้าไหม ผ้าฝ้าย ซึ่งให้สีสันเป็นธรรมชาติดีกว่าสีวิทยาศาสตร์หรือสีสังเคราะห์กลุ่มพืชที่ให้สีดังกล่าว เช่น เหง้าขมิ้นชัน (Curcuma longa) ใช้แต่งสีเหลืองในอาหาร เมล็ดคำแสด (Bixa orellana) ใช้แต่งสีแสดในอาหาร แก่นไม้ฝาง (Caesalpinia sappan) ใช้แต่งสีแดงในอาหาร และใช้ย้อมผ้า ส่วนรากให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้า เมล็ดคำฝอย (Carthamus tinctorius) ใช้แต่งสีแดงในอาหาร เนื้อผลฟักทอง (Cucurbita moschata) ใช้แต่งสีเหลืองในอาหาร เนื้อจากผลตาลโตนด (Borassus flabellifer) ใช้แต่งสีเหลืองทำขนมตาล ผลสุกผักปลัง หรือ ผักปั๋ง (Basella alba) ใช้แต่งสีแดงเข้มในอาหาร เมล็ดข้าวเหนียวดำ (Oryza sativa var. glutinosa) ใช้แต่งสีแดงเข้มในอาหาร กลีบดอกอัญชัน (Clitoria ternata) ใช้แต่งสีน้ำเงิน สีฟ้า สีฟ้าอมม่วงในอาหาร ดอกดอกดิน (Aeginetia indica)I ใช้แต่งสีน้ำเงินเข้ม ทำขนมดอกดิน เนื้อไม้สีเสียดเหนือ (Acacia catechu) ให้สีน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า แห อวน หนัง ใบอ่อนสัก (Tectona grandis) ให้สีแดงใช้ย้อมผ้า ย้อมกระดาษ เปลือกและผลสมอพิเภก (Terminaliabellirica) ให้สีขี้ม้า ใช้ย้อมผ้า เนื้อไม้แกแล (Maclura cochinchinensis) ให้สีเหลืองปนน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า เปลือกโกงกาง (Rhizophora spp.) ให้สีน้ำตาลใช้ย้อมแห อวน หนัง ยางรง (Garcinia hanburyi) ให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้าและผสมสี เปลือกสะเดา (Azadirachta indica var.amensis) ให้สีแดง ใช้ย้อมผ้า รากมะหาด (Artocarpus lakoocha) ให้สีเหลือง ใช้ย้อมผ้า เปลือก ราก เนื้อไม้ และใบยอป่า (Morindapubescens) ให้สีแดง ใช้ย้อมผ้า เนื้อไม้ประดู่ป่า (Pterocarpus macrocarpus) ให้สีแดงคล้ำ และเปลือกให้สีน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า เปลือกติ้วขน (Cratoxylum formosum ssp.pruniflorum) ให้สีน้ำตาลเข้ม ใช้ย้อมผ้า ผลมะเกลือ (Diospyrus mollis) ให้สีดำใช้ย้อมผ้า เปลือกสนทะเล (Casuarina equisetifolia) ให้สีน้ำตาลแกมแดง ใช้ย้อมผ้า เปลือกคาง (Albizia odoratissima) ให้สีน้ำตาลใช้ย้อมผ้า หนัง ดอกทองกวาว (Butea monosperma) ให้สีเหลืองอมส้ม ใช้ย้อมผ้า ต้นคราม (Indigofera tinctoria) สมัยก่อนนิยมใช้ทำสีครามย้อมผ้า ต้นฮ่อม (Baphicacanthus cusia) ให้สีน้ำเงินเข้ม นิยมใช้ย้อมเสื้อม่อฮ่อมทางภาคเหนือ ผลมะเกิ้ม หรือมะกอกเลื่อม (Canariumsubulatum) ให้สีดำ ใช้ทำหมึกเขียนพื้นบ้าน

พืชที่ใช้ทำกระดาษ



พืชที่ใช้ทำกระดาษ
การเขียนหนังสือลงบนวัสดุที่ทำจากพืชที่นิยมกันมากในสมัยโบราณอีกแบบหนึ่ง ได้แก่การจารึกลงใบลาน (Corypha umbraculifera) หรือใบตาล (Borassus flabellifer) เรียกว่า "คัมภีร์ใบลาน" การเขียนตัวอักษรลงบนใบลานเรียกว่า "การจาร" โดยใช้การฝังเขม่าสีดำลงไปในร่องที่ขีดไว้บนใบลาน แล้วขัดตกแต่งใบลานให้สะอาด จะได้ตัวอักษรสีดำฝังอยู่ในเนื้อของใบลานการทำคัมภีร์ใบลานในสมัยก่อน จะใช้เข้าห่อหรือผูกห่อคัมภีร์ตกแต่งปกหน้าหลังเช่นเดียวกับสมุดในปัจจุบัน
กระดาษสาทำจากต้นปอกระสา (Broussonetia papyrifera) และกระดาษข่อยทำจากต้นข่อย (Streblus asper)สมุดไทยที่ทำขึ้นจากกระดาษสาเรียก "สมุดสา" ทำจากกระดาษข่อยเรียก "สมุดข่อย" ใช้ตามชนบท ในสมัยก่อนสมุดมีลักษณะเป็นกระดาษแผ่นเดียวยาวติดต่อกันไปตลอดเล่ม ด้วยการพับทบกลับไปกลับมาจนเป็นเล่มหนา กว้างยาวเท่าใดก็ได้ สามารถเขียนภาพประกอบทั้งภาพลายเส้นและภาพสีประเภทจิตรกรรมลงสมุดได้ด้วย การเขียนหนังสือลงบนวัสดุที่ทำจากพืช ที่นิยมกันมากในสมัยโบราณอีกแบบหนึ่ง ได้แก่ การจารึกลงใบลาน(Corypha umbraculifera) หรือใบตาล (Borassus flabellifer) เรียกว่า "คัมภีร์ใบลาน" การเขียนตัวอักษรลงบนใบลานเรียกว่า "การจาร" โดยใช้การฝังเขม่าสีดำลงไปในร่องที่ขีดไว้บนใบลาน แล้วขัดตกแต่งใบลานให้สะอาด จะได้ตัวอักษรสีดำฝังอยู่ในเนื้อของใบลาน การทำคัมภีร์ใบลานในสมัยก่อน จะใช้เข้าห่อหรือผูกห่อคัมภีร์ตกแต่งปกหน้าหลังเช่นเดียวกับสมุดในปัจจุบัน[กลับหัวข้อหลัก]
ปอสา

พืชที่ใช้ทำเครื่องดนตรีพื้นบ้าน คุณภาพเสียงของเครื่องดนตรีพื้นเมืองของไทยขึ้นกับวัสดุที่ใช้ เช่น แคนคุณภาพดีของภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่ทำจาก ไผ่เฮียะ (Cephalostachyum virgatum) ระนาดที่มีคุณภาพมักใช้ไผ่บง (Bamboo spp.) หรือไม้พยุง (Dalbergiacochinchinensis) เป็นพื้นระนาด ส่วนรางระนาดทำจากไม้หลายชนิด เช่น มะริด(Diospyrosphilippensis) มะเกลือ (Diospyros mollis) กลองพื้นเมืองที่ให้เสียงดีขึ้นอยู่กับไม้และหนังที่ขึงหน้ากลอง เช่น กลองเพล ต้องใช้ไม้เนื้อแข็ง หนาจำพวกประดู่ป่า (Pterocarpus macrocarpus) ชิงชัน (Dalbergia oliveri) เพราะความหนาและความแข็งของเนื้อไม้ช่วยให้อุ้มเสียงได้ดี

พืชอาหาร










พืชอาหาร



กลุ่มชนพื้นบ้านนำพืชหลากชนิดมาใช้เป็นอาหาร แตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่นตามวัฒนธรรมการบริโภคของชนเผ่า การศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้านในเรื่องของพืชอาหารพื้นบ้านจะเน้นเฉพาะพืชที่เก็บหาได้ในธรรมชาติ จากป่าท้องทุ่ง ฯลฯ พืชป่าหลายชนิดถูกนำมาปลูกทิ้งไว้ตามหัวไร่ปลายนา หรือในบริเวณหมู่บ้าน เพื่อความสะดวกในการเก็บหานำมาใช้บริโภคในชีวิตประจำวัน พืชอาหารบางชนิดเป็นที่นิยมกันทั่วไปเกิดการแก่งแย่งเก็บหาออกจากป่าจนเกินกำลังผลิตทำให้ผลิตผลในธรรมชาติลดลง ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ในปัจจุบันได้มีการนำพืชป่าดังกล่าวมาปลูกขยายพันธุ์ในสวนหรือในแปลง เพื่อเก็บผลิตผลเป็นการค้า เช่น สะตอ เนียง ผักหวาน ผักกระเฉด ฯลฯ พืชอาหารที่ใช้บริโภคเก็บหาในธรรมชาติบางครั้งจะพบวางขายตามตลาดสดในชนบทจำแนกออกเป็นกลุ่มได้ กลุ่มพืชผักพื้นบ้าน รวมถึงพืชชั้นต่ำจำพวกสาหร่าย เห็ด เฟินจนถึงพืชชั้นสูงทั่วไป ชนพื้นบ้านนำส่วนต่างๆ ของพืชมาใช้บริโภคตามความเหมาะสม ได้แก่ ส่วนของราก หัว เหง้า ลำต้น ยอด ใบ ดอก ผลเมล็ด หรือใช้ทั้งต้น วิธีการประกอบอาหารอาจจะใช้เป็นผักสด ผักลวก ผักดอง ต้มใส่ในแกงผัด หรือใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร พืชผักพื้นบ้านของไทย เช่น เทา (Spirogyra sp.) สาหร่ายสีเขียวน้ำจืดใช้กินเป็นผักกับน้ำพริก ลาบ ปนในแกงส้ม หรือ ผัดกับไข่ เห็ด ที่เกิดตามธรรมชาติและนำมาเป็นอาหารมีหลายชนิด ส่วนใหญ่จะปรุงให้สุกเสียก่อนโดยการนึ่ง ย่าง ต้ม หรือผัด ใช้กินกับน้ำพริก ใส่แกงหรือผัดผัก เช่น เห็ดไข่ห่าน (Amanita vaginata) เห็ดลม (Lentinus praerigidus) เห็ดตีนตุ๊กแก (Schizophyllum commune) เห็ดโคน (Termitomyces fuliginosus) เห็ดเผาะหรือเห็ดถอบ (Astreaushygrometricus) เห็ดมันปูใหญ่ (Cantharellus cibarius) เห็ดตับเต่า (Boletus edulis) เห็ดหล่มขาวหรือเห็ดตะไคล (Russuladelica) เห็ดขมิ้นน้อย (Craterellus sp.) เฟิน ใช้ส่วนของยอดอ่อนหรือใบอ่อนเป็นอาหาร ใช้เป็นผักสดหรือผักดอง นึ่ง ลวก ผัดหรือใส่แกง เช่น ผักขาเขียด (Ceratopteris thalictroides) ปรงสวน (Stenochlaena palustris) ผักกูดขาว (Diplazium esculentum) ผักแว่น (Marsilea crenata) ผักกูด (Pteridium aquilinum varyarrabense) ผักกะเหรี่ยงหรือผักเหลียง (Gnetum gnemonvar. tenerum) ไม้พุ่มจำพวกพืชเมล็ดเปลือย (gymnosperm) ทางภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน ยอดและใบอ่อนนิยมใช้เป็นผักลวกจิ้มน้ำพริก ผัดใส่แกงห่อหมก สะเดาหรือสะเดาไทย (Azadirachta indicavar. siamensis) ช่อดอกและใบอ่อนมีรสขม นำมาต้มหรือลวกเป็นผักจิ้มน้ำปลาหวาน ผักไผ่ (Polygonum odoratum) ยอดอ่อนและใบอ่อนใช้ปรุงอาหารประเภทยำต่างๆ ผักขะยาหรือผักปู่ย่า (Caesalpinia mimosoides) ใบอ่อนและช่อดอกอ่อน ใช้เป็นผักสดจิ้มน้ำพริก เลียบหรือผักเฮือด (Ficus lacor) ใบอ่อนและยอดอ่อนใช้เป็นผักสดจิ้มน้ำพริก หรือใช้ใส่แกงคั่ว หรือแกงต้มกะทิ ผักเค็ดหรือชุมเห็ดเล็ก (Cassia occidentalis) ยอดและใบอ่อนนำมาลวกเป็นผักจิ้ม จมูกปลาหลด (Oxystelma esculenta) ยอดและใบอ่อนใช้เป็นผักจิ้ม หรือยำ เถาย่านาง (Tiliacora triandra) ยอดและใบอ่อนใช้แกงเลียง ใบแก่นำมาปรุงแกงขี้เหล็ก แกงหน่อไม้ สันตะวาใบพาย (Ottelia alismoides) ใบอ่อนและช่อดอกใช้เป็นผักจิ้มสดหรือใช้แกงส้ม ผักเผ็ด (Spilanthes paniculata) ดอกและใบสดใช้กินกับลาบ ลิ้นฟ้าหรือเพกา (Oroxylum indicum) ฝักอ่อนสดใช้กินกับลาบและน้ำพริก ผักสังหรือผักกระสัง (Peperomia pellucida) ยอดและต้นนำมาลวกกินกับลาบ แจ่ว ผักหวานบ้าน (Sauropus androgynus) ใบอ่อนนำมาลวกจิ้มน้ำพริก ผักหวานป่า (Melientha suavis) ยอดและใบอ่อนนำมาลวกเป็นผักจิ้ม หากกินสดๆ จะมีกลิ่นเหม็นเขียวเล็กน้อย บัวสาย (Nymphaea lotus var. pubescens) ก้านดอกใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือแกงเผ็ด สะตอ (Parkia speciosa) นิยมกินกันมากทางภาคใต้ เมล็ดกินเป็นผักสดกับแกงเผ็ดต่างๆ หรือนำไปเผาไฟก่อน ใช้ผัดเผ็ด ผัดเปรี้ยวหวานต้มกะทิ เนียงหรือลูกเนียง (Archidendron jiringa) นิยมเฉพาะทางภาคใต้ ใช้เมล็ดเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก หรือกินกับอาหารเผ็ด ทำเป็นลูกเนียงเพาะและดองเป็นผักจิ้ม เรียง (Parkia timoriana) นิยมเฉพาะทางภาคใต้เช่นกัน นำเมล็ดมาเพาะให้งอกรากเล็กน้อยคล้ายถั่วงอก ใช้เป็นผักสด ผักดองจิ้มน้ำพริก กินกับแกงเผ็ด หรือนำมาแกง ชะพลู (Piper sarmentosum) ใช้ใบกินกับเมี่ยงคำ ขี้เหล็ก (Cassia siamea) ใบอ่อนและช่อดอกอ่อนใช้แกงขี้เหล็ก ผักปอดหรือจุ่มปลา (Sphenoclea zeylanica) ยอดและต้นอ่อนใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก หญ้าเอ็นยืดหรือผักกาดน้ำ (Plantago major) ยอดและใบอ่อนใช้เป็นผักสดกินกับลาบ ผักปลัง (Basella alba) ช่อดอกอ่อน ยอดและใบอ่อนลวกจิ้มน้ำพริกและใช้แกงกะทิ แคหางค่าง (Markhamia stipulata) แคบิด (Fernandoa adenophylla) และแคป่าหรือแคทุ่ง(Dolichandrone serrulata) ใช้กลีบดอกผัดหรือยำ โสนหรือโสนกินดอก (Sesbania javanica) ช่อดอกสีเหลืองใช้เป็นผักสดหรือต้มเป็นผักจิ้มดองน้ำเกลือเป็นผักดอง หรือชุบไข่ทอด สลิดหรือขจร (Telosma minor) ใช้ดอกเป็นผักสดหรือต้มให้สุก หรือผัดใส่ไข่ อาวหรือดอกอาว (Curcuma sessilis) ใช้ช่อดอกอ่อนเป็นผักสด งิ้วหรืองิ้วแดง (Bombax ceiba) ใช้เกสรตัวผู้แห้งที่ร่วงหล่นจากดอกนำมาปรุงกับแกงส้มแกงเผ็ด ใบอ่อน ดอกตูมและผลอ่อนใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก กระโดน (Careya sphaerica) ยอดอ่อนกินเป็นผักสดกับน้ำพริก เอื้องหมายนาหรือเอื้องต้น (Costus speciosus) หน่ออ่อนต้มใช้เป็นผักจิ้ม เสม็ดชุน (Syzygium grata) ยอดอ่อนใช้เป็นผักสด เมาะหรือกระดาษขาว (Alocasia odora) ยอดอ่อนใช้แกงเลียง แกงเผ็ด แกงไตปลา หวาย (Calamus spp.) หวายแทบทุกชนิดใช้เป็นอาหารได้ โดยใช้ส่วนของเนื้ออ่อนคอต้นหรือส่วนโคนใบเมื่อลอกกาบใบออก จะพบเนื้ออ่อนกินสดๆ หรือปรุงอาหารอย่างอื่น หวายงวย (Calamus peregrinus) ผลสุกมีรสเปรี้ยว ใช้ใส่แกงให้มีรสออกเปรี้ยว พยอมหรือสุกรม (Shorea roxburghii) ดอกใช้ใส่แกงส้ม แกงเลียง ลวกจิ้มน้ำพริก ทอดกับไข่ ชะมวงหรือส้มมวง (Garcinia cowa) ใบมีรสเปรี้ยว ใช้ใส่ต้มปลา ต้มหมู ต้มเครื่องใน ส้มแขกหรือส้มพะงุน (Garcinia atroviridis) ผลสดและเนื้อในผลตากแห้งมีรสเปรี้ยวใช้ใส่ต้มเนื้อต้มปลา แกงส้ม และน้ำแกงขนมจีน มันปู (Glochidion wallichianum) ยอดอ่อนกินเป็นผักสด นิยมกินกับขนมจีนทางภาคใต้ มะกอกป่า (Spondias pinnata) ใบอ่อนและช่อดอก ใช้เป็นผักสดจิ้มน้ำพริกและหลน แฟบหรือหูลิง (Hymenocardia wallichii) ผลอ่อนกินสด ใส่แกงเลียง แกงส้ม พาโหมหรือกระพังโหม (Paederia linearis และ P. foetida) ใช้เป็นผักผสมข้าวยำทางภาคใต้จิ้มน้ำพริก ทั้งผัดทั้งต้ม กินกับแกงไตปลา ผักหนาม (Lasia spinosa) ยอดอ่อนต้มจิ้มน้ำพริก แกงส้ม ผัด ลำต้นอ่อนปอกผิวออกดองเป็นผักแกล้มแกงไตปลาและขนมจีน กุ่มน้ำ (Crateva magna และ C. religiosa) ใบอ่อนและดอก ลวกหรือดองเป็นผักจิ้มน้ำพริก กำจัดต้น (Zanthoxylum limonella) เมล็ดใช้เป็นเครื่องเทศผสมกับเครื่องแกงให้มีรสหอมและเผ็ดร้อน ใบอ่อนใช้เป็นผักจิ้ม สะทอนหรือสะท้อนน้ำผัก (Milettia utilis) ชาวบ้านแถบจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ พิษณุโลก นำใบสะทอนมาหมักเพื่อทำเครื่องปรุงอาหารที่มีรสเค็มหอมคล้ายน้ำปลา กลุ่มพืชไม้ผล พรรณไม้ในป่าหลายชนิดให้ผลที่มีรสและคุณค่าทางโภชนาการ ชนพื้นบ้านนำมาใช้บริโภคแบบผลไม้เศรษฐกิจทั่วไป มีเพียงไม่กี่ชนิดที่นำมาปลูกตามบ้านหรือหัวไร่ปลายนา เช่น คอแลนหรือหมากแวว (Nephelium hypoleucum) ผลคล้ายลิ้นจี่ แต่มีเมล็ดใหญ่เนื้อหุ้มเมล็ดบาง รสค่อนข้าวเปรี้ยว ใช้กินกับเกลือหรือน้ำปลาหวาน เงาะขนสั้น (Nephelium ramboutan-ake) ผลคล้ายเงาะแต่ขนสั้นเหลือแค่โคน เนื้อหุ้มเมล็ดรสหวานไม่เท่าเงาะ พบบ้างตามตลาดชนบททางภาคใต้ตอนล่าง มีมากในประเทศมาเลเซีย ตะคร้อหรือมะโจ๊ก (Schleichera oleosa) ผลสุกกินได้ กระหรือประ (Elateriospermum tapos) ทางภาคใต้นำเมล็ดมาคั่วแกะกินเนื้อใน หว้า (Syzygium cumini) ผลสุกสีดำ รสฉ่ำหวาน มะขามป้อม (Phyllanthus emblica) ผลสดใช้อมหรือเคี้ยวทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ ผลแห้งนำมาต้มดื่มแก้ไอ แก้ไข้ มะดัน (Garcinia schomburgkiana) ผลมีรสเปรี้ยวจัดใช้แทนมะนาวได้ดี มักนิยมนำไปดองน้ำเกลือเพื่อทำให้รสเปรี้ยวลดลงและเก็บไว้ได้นาน ก่อหนาม ก่อเดือย ก่อแป้น (Castanopsisspp.) ไม้ก่อหลายชนิดมีผลที่มีหนามหุ้ม เมื่อนำเมล็ดไปคั่วแกะกินเนื้อใน ได้รสหวานมันคล้ายลูกเกาลัด ลูกมุดหรือส้มมุด (Mangifera foetida) นิยมปลูกตามบ้านหรือหัวไร่ปลายนาทางภาคใต้ผลสุกมีกลิ่นหอม รสหวาน ผลดิบนำมาทำมะม่วงดองได้เช่นเดียวกับมะม่วง มะเม่าหลวง (Antidesma bunius) และ มะเม่า (A. ghaesembilla) ผลเล็กจำนวนมากออกเป็นพวงบนช่อ ผลสุกสีดำ รสหวานอมเปรี้ยว เขลงหรือหยีหรือนางดำ (Dialium cochinchinensis) ผลสุกสีดำ เนื้อหุ้มเมล็ดนุ่มสีน้ำตาลรสหวานอมเปรี้ยว นิยมนำไปคลุกหรือเคลือบน้ำตาลเรียกลูกหยี ชนิดผลโตเรียก กาหยี (Dialium indum) พบทางภาคใต้ ต๋าวหรือลูกชิด (Arenga pinnata) ปาล์มออกผลเป็นทะลาย เนื้อในผลกินได้ แต่ต้องต้มให้สุกเสียก่อน นิยมนำไปเชื่อมน้ำตาล เรียกลูกชิด จาก (Nypa fruticans) ปาล์มในป่าโกงกางออกผลเป็นทะลาย เนื้อในผลที่ยังไม่แข็ง มีรสหวานกินได้สดๆ แต่เมื่อผลแก่จัดเนื้อในจะแข็งและมีแป้งมาก ต้องนำมาบดเสียก่อนจึงนำมาทำอาหารได้ มะตูม (Aegle marmelos) เนื้อของผลสุกเมื่อแกะเมล็ดทิ้งไปกินได้ รสหวาน ผลดิบนำมาฝานเป็นแผ่น ตากให้แห้งแล้วเอาไปย่างไฟพอเกรียม ใช้ชงน้ำร้อนแทนชาได้ เรียกชามะตูมหรือน้ำมะตูม มะไฟหรือมะไฟป่า (Baccaurea sapida) ผลสุกรสหวานเช่นเดียวกับมะไฟบ้าน แต่มะไฟในป่าผลมักจะมีรสหวานอมเปรี้ยว บางต้นมีรสเปรี้ยวจัด ละไมหรือรำไบ (Baccaurea motleyana) ผลสุกกินได้คล้ายมะไฟ รสหวานอมเปรี้ยว ส้มโหลกหรือส้มหูก (Baccaurea lanceolata) ผลคล้ายมะไฟ ผลสุกสีนวล รสเปรี้ยวจัด เปลือกหนาใช้ประกอบอาหาร ลังแขหรือลำแข (Baccaurea macrophylla) ผลใหญ่ เปลือกหนามาก เมล็ดมีเนื้อหนากรอบรสหวาน ละมุดสีดาหรือละมุดไทย (Manikara kauki) ผลรูปไข่ขนาดพุทรา สุกสีน้ำตาลอมเหลือง รสหวานมี ๒-๓ เมล็ด เป็นผลไม้พื้นบ้านของไทยในสมัยก่อน ปัจจุบันหายาก

พืชหัตถกรรม





พืชที่ใช้ในงานหัตถกรรมพื้นบ้าน
กลุ่มชนพื้นบ้านใช้พืชเป็นวัตถุดิบในงานจักสาน หรือทำเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตรเครื่องมือจับหรือดักสัตว์ และภาชนะใช้สอยในครัวเรือน สำหรับไว้ใช้สอยเท่าที่จำเป็นในการดำรงชีวิตประจำวัน เครื่องมือหรือภาชนะเหล่านั้นจะมีลักษณะเฉพาะถิ่นที่บ่งบอกถึงงานฝีมือของกลุ่มชนต่างๆ เครื่องมือเครื่องใช้บางอย่างมีการผลิตอย่างประณีตหรือมีลวดลายสวยงาม อันเป็นงานฝีมือพื้นบ้านที่ได้รับการถ่ายทอดต่อกันมาหลายรุ่น เครื่องใช้หรือภาชนะพื้นบ้านบางอย่างได้กลายมาเป็นของใช้สำหรับคนชั้นสูง
เครื่องมือเครื่องใช้หรือภาชนะที่มีลักษณะเฉพาะถิ่น เช่น กระเป๋าและตะกร้าย่านลิเภาของจังหวัดนครศรีธรรมราช ใช้เฟินเถาของสกุลย่านลิเภา (Lygodium) เสื่อกระจูดหรือสาดกระจูดของภาคใต้ใช้ต้นของกระจูด (Lepironia articulata) "หมาหรือหมาจาก" เป็นภาชนะตักน้ำในบ่อทางภาคใต้ ทำด้วยกาบหมากของต้นหมาก(Arecacatechu) หรือกาบของต้นหลาวชะโอน (Oncosperma tigillaria) ส่วนภาชนะตักน้ำในบ่อทางภาคเหนือเรียก "น้ำถุ้งหรือน้ำทุ่ง" สานด้วยไม้ไผ่แล้วยาด้วยชันและน้ำมันยาง มีไม้ไขว้กันด้านบนตรงปากสำหรับเกี่ยวขอ ไม้ไผ่บางชนิดที่ลำขนาดใหญ่ปล้องยาว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๕-๒๕ เซนติเมตร มักจะถูกนำมาใช้เป็นกระบอกบรรจุน้ำขนถ่ายน้ำ หรือใช้ในระบบประปาจากแหล่งน้ำธรรมชาติตามหมู่บ้านชาวเขาทางภาคเหนือ เช่น ไผ่หก (Dendrocalamus hamiltonii) ไผ่บงใหญ่ (Dendrocalamus brandisii) ไผ่เป๊าะ(Dendrocalamusgiganteus) และไผ่ซางดอย (Dendrocalamusmembranaceus) ไม้ไผ่เป็นวัสดุธรรมชาติอเนกประสงค์ ใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้และงานจักสานหลายประเภท ประเภทที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค เช่น ก่องข้าวหรือกระติบข้าว แอบข้าว แอบยา แอบหมาก ตะกร้า กระบุง กระทาย กระเหล็บ กะโล่ ฯลฯ ประเภทที่ใช้ในการจับดักสัตว์ เช่น ลอบ ไซ เอ๋อ ข้องลอยหรือข้องเป็ด อีจู้ สุ่ม ตุ้มปลาไหล ฯลฯ ประเภทที่ใช้เกี่ยวกับประเพณีความเชื่อและศาสนา เช่น ก๋วยน้อย ก๋วยหลวง ตานสลาก เฉลว เป็นต้น[กลับหัวข้อหลัก]
เฉลว

พืชกับศิลปะไทยโบราณ
กลุ่มชนพื้นบ้านรู้จักคิดค้นนำเอาลักษณะและโครงสร้างของพืช มาเป็นจุดกำเนิดของลวดลายประดิษฐ์จากพืชหรือดอกไม้ไทยหลายชนิดแต่ครั้งโบราณ ดังปรากฏอยู่ในลวดลายโบราณของผ้าไทหรือเครื่องแกะสลัก ลวดลายประดิษฐ์บางลายนิยมนำมาใช้กัน จนกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมไทยถึงปัจจุบัน ลวดลายประดิษฐ์จากพืชหรือดอกไม้ไทย เช่น ลายกลีบบัวหลวง กลีบบัวลายไทย ลายบัวหงายและบัวคว่ำ ลายดอกลำดวน ลายดอกพิกุล ลายดอกมะลิ ลายดอกสายหยุด ลายดอกรัก ลายดอกจันทน์ ลายกาบไผ่ ลายใบไผ่ และ ลายดอกหญ้า[กลับหัวข้อหลัก]
เฉลว

พืชอเนกประสงค์

หมายถึง พืชที่ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างทั้งในด้านการบริโภค อุปโภค พิธีกรรม และความเชื่อถือของกลุ่มชนพื้นบ้าน พืชพื้นบ้านอเนกประสงค์มีมากมาย เช่น พลวง (Dipterocarpus tuberculatus) ชันไม้ที่ได้จากการเจาะต้น ใช้ยาแนวไม้ ยาแนวเรือและทำไต้ ไม้ ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างในร่ม ทำแจว พาย ครก สาก กระเดื่อง กังหันน้ำ กระเบื้องไม้ ฯลฯ ราก นำมาต้มกินแก้ตับอักเสบ ใบ ใช้เผาไฟแทรกน้ำปูนใสกินแก้บิด และถ่ายเป็นมูกเลือด ทางภาคเหนือใช้ใบแก่ที่เรียกว่า "ตองตึง" เย็บเป็นตับใช้มุงหลังคาและทำฝา ใช้ห่อยาสูบ และห่อของสดแทนใบกล้วย พะยอม (Shorea roxburghii) ชันไม้และไม้ ใช้ประโยชน์เช่นเดียวกับพลวง ไม้ใช้ทำเรือขุดและต่อเรือได้ดี ทนเพรียง เปลือก ใส่กันบูด มีรสฝาดกินกับพลูแทนหมาก ใช้เป็นยาสมานลำไส้แก้ท้องเดิน ให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนัง ดอก ใช้ผสมยาแก้ไข้และยาหอมแก้ลม บำรุงหัวใจ ดอกอ่อน ใช้ผัดกับไข่หรือชุบไข่ทอด ส้มป่อย (Acacia concinna) ใบอ่อน ใช้เป็นเครื่องปรุงชูรส ใส่แกงหรืออาหารอื่นเพื่อให้รสเปรี้ยวขึ้น ใบอ่อนต้มคั้นเอาน้ำผสมน้ำผึ้ง กินเป็นยาขับปัสสาวะ ผล ใช้บดแล้วต้มนำน้ำมาใช้เป็นยาสระผม ซึ่งชนพื้นเมืองเชื่อว่าจะนำโชคดีมาสู่ตนและยังใช้น้ำจากฝักส้มป่อยรดน้ำในพิธีสงกรานต์ของไทย เสม็ด (Melaleuca cajuputi) เปลือก ทำประทุนเรือกันแดดและฝน หรือใช้มุงหลังคาบ้านชั่วคราว นำเปลือกมาชุบน้ำมันยางมัดทำเป็นไต้ เสม็ด ติดไฟได้ดี ใบ กลั่นได้น้ำมันเขียวหรือน้ำมัน เสม็ด ใช้ทาแก้เคล็ด เมื่อย ปวดบวม และใช้เป็นยาฆ่าแมลง ใบและเปลือก ใช้ฟอกแผลกลัดหนอง เพื่อดูดหนองให้แห้ง ไม้ ใช้ทำฟืนและถ่าน

พืชมีพิษ





พืชมีพิษ
ชนพื้นบ้านรู้จักนำส่วนต่างๆ ของพืชหลายชนิดที่ให้สีมาใช้แต่งสีอาหาร อันเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่ไม่เป็นพิษภัยต่อร่างกาย หรือนำพืชที่ให้สีย้อมมาย้อมผ้า แห อวน หรือหนัง โดยเฉพาะผ้าพื้นเมืองจำพวกผ้าไหม ผ้าฝ้าย ซึ่งให้สีสันเป็นธรรมชาติดีกว่าสีวิทยาศาสตร์หรือสีสังเคราะห์กลุ่มพืชที่ให้สีดังกล่าว เช่น เหง้าขมิ้นชัน (Curcuma longa) ใช้แต่งสีเหลืองในอาหาร เมล็ดคำแสด (Bixa orellana) ใช้แต่งสีแสดในอาหาร แก่นไม้ฝาง (Caesalpinia sappan) ใช้แต่งสีแดงในอาหาร และใช้ย้อมผ้า ส่วนรากให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้า เมล็ดคำฝอย (Carthamus tinctorius) ใช้แต่งสีแดงในอาหาร เนื้อผลฟักทอง (Cucurbita moschata) ใช้แต่งสีเหลืองในอาหาร เนื้อจากผลตาลโตนด (Borassus flabellifer) ใช้แต่งสีเหลืองทำขนมตาล ผลสุกผักปลัง หรือ ผักปั๋ง (Basella alba) ใช้แต่งสีแดงเข้มในอาหาร เมล็ดข้าวเหนียวดำ (Oryza sativa var. glutinosa) ใช้แต่งสีแดงเข้มในอาหาร กลีบดอกอัญชัน (Clitoria ternata) ใช้แต่งสีน้ำเงิน สีฟ้า สีฟ้าอมม่วงในอาหาร ดอกดอกดิน (Aeginetia indica)I ใช้แต่งสีน้ำเงินเข้ม ทำขนมดอกดิน เนื้อไม้สีเสียดเหนือ (Acacia catechu) ให้สีน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า แห อวน หนัง ใบอ่อนสัก (Tectona grandis) ให้สีแดงใช้ย้อมผ้า ย้อมกระดาษ เปลือกและผลสมอพิเภก (Terminaliabellirica) ให้สีขี้ม้า ใช้ย้อมผ้า เนื้อไม้แกแล (Maclura cochinchinensis) ให้สีเหลืองปนน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า เปลือกโกงกาง (Rhizophora spp.) ให้สีน้ำตาลใช้ย้อมแห อวน หนัง ยางรง (Garcinia hanburyi) ให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้าและผสมสี เปลือกสะเดา (Azadirachta indica var.amensis) ให้สีแดง ใช้ย้อมผ้า รากมะหาด (Artocarpus lakoocha) ให้สีเหลือง ใช้ย้อมผ้า เปลือก ราก เนื้อไม้ และใบยอป่า (Morindapubescens) ให้สีแดง ใช้ย้อมผ้า เนื้อไม้ประดู่ป่า (Pterocarpus macrocarpus) ให้สีแดงคล้ำ และเปลือกให้สีน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า เปลือกติ้วขน (Cratoxylum formosum ssp.pruniflorum) ให้สีน้ำตาลเข้ม ใช้ย้อมผ้า ผลมะเกลือ (Diospyrus mollis) ให้สีดำใช้ย้อมผ้า เปลือกสนทะเล (Casuarina equisetifolia) ให้สีน้ำตาลแกมแดง ใช้ย้อมผ้า เปลือกคาง (Albizia odoratissima) ให้สีน้ำตาลใช้ย้อมผ้า หนัง ดอกทองกวาว (Butea monosperma) ให้สีเหลืองอมส้ม ใช้ย้อมผ้า ต้นคราม (Indigofera tinctoria) สมัยก่อนนิยมใช้ทำสีครามย้อมผ้า ต้นฮ่อม (Baphicacanthus cusia) ให้สีน้ำเงินเข้ม นิยมใช้ย้อมเสื้อม่อฮ่อมทางภาคเหนือ ผลมะเกิ้ม หรือมะกอกเลื่อม (Canariumsubulatum) ให้สีดำ ใช้ทำหมึกเขียนพื้นบ้าน



ความหมาย

พืชสมุนไพรพื้นบ้าน พืชสมุนไพร หมายถึง พืชที่ใช้ทำเป็นยารักษาโรค โดยใช้ส่วนต่างของพืชชนิดเดียวหรือหลายชนิดพร้อมกัน พืชสมุนไพรเป็นกลุ่มพืชที่อยู่ในความสนใจ และมีผู้ศึกษาทางด้านพฤกษศาสตร์พื้นบ้านมากที่สุด ยารักษาโรคปัจจุบันหลายขนานที่ผลิตเป็นอุตสาหกรรม ได้มาจากการศึกษาวิจัยการใช้พืชสมุนไพรพื้นบ้านของกลุ่มชนพื้นเมืองตามป่าเขาหรือในชนบท ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษที่ได้สังเกตว่าพืชใดนำมาใช้บำบัดโรคได้ มีสรรพคุณอย่างไร จากการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ และการทดลองแบบพื้นบ้านที่ได้ทั้งข้อดีและข้อผิดพลาด พืชสมุนไพรพื้นบ้านในตำรับยาไทยมีหลายร้อยชนิด จะนำมากล่าวถึงเป็นตัวอย่างเพียงบางชนิด แยกตามกลุ่มพืชที่ใช้บำบัดโรคต่างๆ ดังนี้ กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้แก้ไข้และขับปัสสาวะ เช่น เปลือกพญาสัตบรรณหรือตีนเป็ด (Alstoniascholaris) เปลือกและใบทุ้งฟ้า (Alstonia macrophylla) ใบหนาด (Blumea balsamifera) ราก เปลือก และใบ ขลู่ (Pluchea indica) ใบ เนื้อไม้ ผล และเมล็ดมะคำไก่ หรือประคำไก่ (Drypetes roxburghii) ต้นและรากอ้อเล็ก (Phragmites australis) รากและใบกรุงเขมา (Cissampelos pareira) เถาบอระเพ็ด (Tinospora crispa) เถาขมิ้นเครือ (Arcangelisia flava) ราก เหง้า และใบหญ้าคา (Imperatacylindrica) ผลน้ำเต้า (Legenaria siceraria) กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย เช่น เนื้อไม้สีเสียดหรือสีเสียดเหนือ (Acaciacatechu) ใบและผลมะตูม (Aegle marmelo) เปลือกประดู่บ้าน (Pterocarpus indicus) เหง้าไพล (Zingiber purpureum) เหง้าและรากกระชาย (Boesenbergia rotunda) แก่นฝาง (Caesalpinia sappan) ราก เปลือก เนื้อไม้ ใบและดอกแก้ว (Murrayapaniculata) เปลือกโมกหลวง(Holarrhenapubescens) กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาระบายและขับพยาธิ เช่น ผลดิบมะเกลือ (Diospyros mollis) แก่นไม้มะหาด (Artocarpus lakoocha) เมล็ดเถาเล็กมือนาง (Quisqualis indica) เมล็ดสะแกนา (Combretum quadran-gulare) เมล็ดแห้งฟักทอง (Cucurbita moschata) เนื้อในเมล็ดมะขาม (Tamarindus indica) กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาขับลม เช่น เหง้าแก่ขิง (Zingiber officinale) เหง้าว่านน้ำ (Acorus calamus) ผลกระวาน (Amomum krervanh) เหง้าข่า (Alpinia galanga) ผลพริกไทย (Piper nigrum) ต้นตะไคร้ (Cymbopogon citratus) กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้แก้โรคผิวหนัง เช่น เปลือก ใบ และเมล็ดสารภีทะเลหรือกระทิง (Calophyllum inophyllum) ใบและเมล็ดชุมเห็ดไทย (Cassia tora) ใบชุมเห็ดเทศ หรือ ชุมเห็ดใหญ่ (Cassia alata) ใบ ดอกและเมล็ดเทียนบ้าน (Impatiensbalsamina) รากและใบทองพันชั่ง (Rhinacanthus nasutus) เปลือก ใบ ดอกและผลโพธิ์ทะเล (Thespesia populnea) ใบและเมล็ดครามป่า (Tephrosia purpurea) ยางสลัดไดป่า (Euphorbia antiquorum) น้ำยางสบู่ดำ (Jatropha curcas) เมล็ดทองกวาว (Butea monosperma) เปลือกเถาสะบ้ามอญ (Entada rheedii) เมล็ดกระเบาใหญ่ (Hydnocarpus anthelminthicus) เหง้าข่า (Alpiniaa galanga) หัวหรือกลีบกระเทียม (Allium sativum) กลุ่มพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาฆ่าแมลงและไล่แมลง เช่น รากเถาโล่ติ๊น หรือหางไหล (Derris elliptica) ใบและเมล็ดน้อยหน่า (Annona squamosa) รากหนอนตายหยาก (Stemona tuberosa) เมล็ดงา (Sesamun indicum) ผลมะคำดีควายหรือมะซัก (Sapindus rarak) ใบเสม็ดหรือเสม็ดขาว (Melaleuca cajuputi) ต้นขอบชะนางหรือหญ้าหนอนตาย (Pouzol-zia pentandra) เปลือก ใบและผลสะเดา (Azadirachta indica) เปลือกกระเจาหรือกระเชา (Holopteleaintegrifolia) ใบสดกว้าว (Haldina cordifolia)

มะดาเสือ



มะตาเสือ
ชื่ออื่น ยอ, ยอบ้าน(กลาง) ยอ (อีสาน)ประโยชน์ทางยาราก สรรพคุณเป็นยาระบาย แก้ท้องผูกใบยอ รสขมเฝื่อน สรรพคุณบำรุงธาตุ แก้ไข้ ฆ่าเหา ปวดข้อ คั้นน้ำทาแก้โรคเกาต์ แก้ท้องร่วงในเด็ก แก้เหงือกบวม คั้นน้ำทาแก้แผลเรื้อรัง แก้กษัย ผสมยาอื่นแก้วัณโรคผลดิบหรือแก่ รสเผ็ดร้อน สรรพคุณขับลม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับโลหิต ระดูของสตรี ฟอกเลือด แก้คลื่นเหียนอาเจียน ผสมยา แก้สะอึก อมแก้เหงือกเปื่อย แก้เสียงแหบแห้ง แก้ร้อนในอกผลสุก ของยอบ้าน มีกลิ่นฉุน สรรพคุณผายลมในลำไส้ต้น ใช้เป็นส่วนผสมกับสมุนไพรอื่นเป็นยารักษาวัณโรคดอก เป็นส่วนผสมของสมุนไพรตัวอื่นเป็นยารักษาวัณโรค
ขนาดวิธีใช้1. แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ใช้ผลดิบแก่ฝานเป็นชิ้นบาง ๆ ย่างไฟให้เหลือง ต้มหรือชงดื่ม ใช้ครั้งละประมาณ 2 กำมือ (10-15 กรัม) เอาน้ำที่ได้จิบทีละน้อยและบ่อย ๆ ครั้ง จึงจะได้ผลดี2. แก้ปวดบวม อักเสบ โรคเก๊าต์ ใช้ใบสดย่างไฟ หรือปรุงยาประคบ3. แก้ปวดข้อนิ้วมือนิ้วเท้า ใช้ใบคั้นเอาแต่น้ำ ทาที่ปวด4. ฆ่าเหา ใช้ใบสดคั้นเอาน้ำ สระผม5. แก้เหงือกเปื่อยเป็นขุมบวม ใช้ผลดิบเผาเป็นถ่านผสมเกลือเล็กน้อย อม6. ขับโลหิตระดู ขับผายลม ขับเลือดลม ใช้ผลดิบต้มเอาน้ำดื่ม7. แก้คลื่นเหียนอาเจียน ใช้ผลดิบหั่นปิ้งไฟหรือหากแห้ง คั่วแล้วนำไปต้มเอาน้ำดื่ม

คูน



ชื่ออื่น : คูน (เหนือ), ชัยพฤกษ์, ราชพฤกษ์ (กลาง), อ้อดิบ (ใต้)ประโยชน์ทางยาช่วงเวลาเก็บยา ฝัก เก็บเมื่อแก่มีสีดำ ฝักที่ดีควรสมบูรณ์ไม่มีก้าน แห้ง เมื่อเขย่าไม่มีเสียง นำมาตากแห้งเก็บไว้ใช้ฝัก รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย มีกลิ่นเหฒ้นเอียน ๆ เย็นจัด ไม่มีพิษ สรรพคุณใช้ขับเสมหะ ขับพยาธิ แก้เด็กเป็นตานขโมย เป็นยาถ่ายและแก้ไข้มาลาเรียเนื้อในฝัก รสหวานเอียด ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ และยาระบายในคนที่ท้องผูกเป็นประจำแก้บิด แก้ไข้มาลาเรีย ใช้ภายนอกเป็นยาแก้ปวดข้อเมล็ด เป็นยาระบายและทำให้อาเจียนดอก รสขมเปรี้ยว เป็นยาถ่าย หล่อลื่นลำไส้ แก้โรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและแผลเรื้อรังใบอ่อน รสเมา แก้กลาก แก้ไข้รูมาติค ใบแก่ใช้เป็นยาถ่าย แก้อัมพาตและโรคเกี่ยวกับสมอง ใบตำพอก หรือคั้นน้ำทากลางเกลื้อนแก่น รสเมา ใช้ขับพยาธิไส้เดือนเปลือกราก เป็นยาระบายและแก้ไข้มาลาเรียราก รสเมา เป็นยาบำรุงและยาถ่ายอย่างแรง แก้โรคเกี่ยวกับหัวใจ และถุงน้ำดี
ขนาดวิธีใช้1. ขับพยาธิ แก้เด็กเป็นตานขโมย เป็นยาถ่าย ใช้ฝักแห้ง 30 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม2. ใช้เป็นยาระบายในคนที่ท้องผูกเป็นประจำ แก้บิด แก้ไข้มาลาเรีย ใช้เนื้อในฝักแก่ แกะเปลือกนอกและเมล็ดออก ใช้ 4 กรัม (ก้อนขนาดหัวมือ) ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว ใส่เกลือกเล็กน้อย ต้มให้เดือดนาน 5-10 นาที ดื่มครั้งละครั่งแก้วก่อนนอน ถ้าไม่ถ่ายให้เพิ่มขนาดยา หรือ ซื้อฝักคูนจากร้านยา เอาท่อนยาวประมาณ 1 คืบ สับเป็นท่อนสั้น ๆ ใส่หม้อหม้อกับน้ำประมาณ 1 แก้วครึ่ง เคี่ยวไฟอ่อน ๆ จนเหลือประมาณ 1 แก้ว เทเอาแต่น้ำ ดื่มให้หมด หรือจะผสมกับมะขามเปียกหรือน้ำตาลขนาดเท่ากันก็ได้ รับประทานก่อนนอนคครั้งเดียว 3. เป็นยาแก้ปวดข้อ ใช้เนื้อในตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น4. เป็นยากระตุ้นให้อาเจียน ใช้เมล็ด 5-6 เมล็ด บดเป็นผงรับประทาน5. แก้โรครูมาติก ใช้ใบอ่อนต้นเอาน้ำดื่ม6. เป็นยาถ่าย ใช้ใบแห้งบดเป็นผง ชงน้ำดื่ม7. แก้กลาก และโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา ใช้ใบสดตำให้ละเอียดนำไปพอก หรือใช้ทาถูตามบริเวณที่เป็นข้อควรระวังการใช้ยาต้มควรต้มให้เดือดพอประมาณ จึงจะได้ผลดี ถ้าต้มนานเกินกว่า 8 ชั่วโมง ยาจะไม่มีฤทธิ์ระบาย กลับทำให้ท้องถูก และยาต้มนี้หากรับประทานมากเกินไปจะทำให้อาเจียน ฝักไม่แก่จัดเกินไปจะใช้เป็นยาระบายได้ดีกว่า

สะเดา


ชื่ออื่น : สะเดา (กลาง), กะเดา,ไม้เดา, เดา (ใต้)ประโยชน์ทางยาใบอ่อน รสขม แก้โรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย พุพองใบแก่ รสขม บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าแมลงสัตรูพืชก้าน รสขม แก้ไข้ บำรุงน้ำดี แก้ร้อนในกระหายน้ำดอก รสขม แก้พิษโลหิต พิษกำเดา แก้รดสีดวงเป็นเม็ดยอด คันในลำคอ บำรุงธาตุลูก รสขมเย็น บำรุงหัวใจให้เต้นเป็นปกติ ฆ่าแมลงสัตรูพืชลูกอ่อน รสขมปร่า แก้ลมหทัยวาตะ ลมสัตถวาตะ เจริญอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้ริดสีดวงแก้ปัสสาวะพิการเปลือกต้น รสฝาดเย็น แก้ท้องเดิน แก้บิด มูกเลือด แก้ไข้ แก้กษัย แก้ในกองเสมหะแก่น รสขมฝาดเย็น แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้ไข้จับสั่น ไข้ตัวร้อน บำรุงโลหิต บำรุงไฟธาตุราก รถขมฝาดเย็น แก้เสมหะจุกคอ แก้เสมหะที่เกาะแน่นในทรวงอก ยาง ใช้ดับพิษร้อน
ขนาดวิธีใช้1. แก้ไข้จับสั่น ใช้ ก้าน ใบ เปลือก ราก ต้มเข้ายาแก้ไข้2. แก้ไขหวัด ใช้ก้านสะเดา 15 ก้าน หั่นเป็นท่อนสั้น ๆ (ประมาณ 1 องคุลี) ต้นกับน้ำ 2 แก้ว เคี่ยวสามส่วนเหลือกสองส่วน ดื่มน้ำยาครั้งละ 1/2 แก้ว วันละ 2-3 ครั้ง3. แก้ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย ปวดท้อง ใช้ใบสะเดาสดประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 2 แก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 แก้ว ดื่มครั้งละ 1/2 แก้ว อาจใส่เกลือหรือน้ำตาลเล็กน้อย เพื่อกลบรสขม

ส้มโอ

ส้มโอ
ส้มโอ นับเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีมาก แคลเซียมสูง ผลจะนำมารับปรานกันเมื่อสุกแล้วนำมาปรุงอาหารได้ เช่น ยำส้มโอ เปลือกมีรสขมนิยมนำมาชาอิ่ม ประเทศจีนนิยมนำมาใช้เป็นยาแก้ธาตุไม่ปกติ และแก้ไอ ใช้ผสมยาหอมรับประทาน


ลักษณะ ส้มโอ เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 8-9 เมตร ลำต้นมีสีน้ำตาลใบ มีใบเดี่ยว รูปมนรี ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ปลายใบมนเช่นเดียวกับโคนใบดอก ออกดอกเดี่ยว หรือเป็นช่อ อยู่ตามง่ามใบ มีสีขาว มีกลีบดอก 4 กลีบผล รูปร่างกลมโต เปลือกหนามีต่อมน้ำมันมาก ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่หรือสุกมีสีเหลือง ขนาดผลยาวประมาณ 9-10 ซ.ม. เนื้อในมีสีเหลืองอ่อนและสีชมพูมีรสหวานอมเปรี้ยว มีเมล็ดฝังอยู่ในเนื้อสีเหลืองอ่อนๆส่วนที่ใช้ ผล เปลือกผล ใบ ดอก เมล็ด ราก

สรรพคุณทางยาสมุนไพร
สรรพคุณทางยา ใน ส้มโอ นั้นมีอยู่มิใช่น้อยเลย ส้มโอนั้นสามารถป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยระบาย บำรุงหัวใจ แก้ไอ และขับเสมหะผลส้มโอ ขับลมในลำไส้ แก้เมาเหล้า เปลือกผลของส้มโอจะช่วยขับเสมหะ จุกแน่นหน้าอก แก้ไส้เลื่อนใบส้มโอ นำมาต้มพอกศีรษะแก้ปวดหัว นอกจากนั้นยังเป็นยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้ออีกด้วยดอกส้มโอ แก้อาการปวดกระบังลม และปวดในกระเพาะอาหารเมล็ดส้มโอ ก็มีประโยชน์อยู่มากเช่นกัน แก้ไส้เลื่อน ลำไส้หดตัว แก้หวัด แก้ไอ แก้ปวดท้องน้อยและกระเพาะอาหารได้อย่างมหัศจรรย์

คุณค่าทางอาหาร
ส้มโอ นั้นนอกจากจะเป็นยาสมุนไพรที่มีสรรพคุณอยู่มากแล้ว ยังนำมาประกอบอาหารจานเด็ดมากด้วยคุณค่าได้อีกเช่นกันส้มโอ นำมาผสมกับน้ำเชื่อม ทำลอยแก้วส้มโอ นำมาคั้นทำน้ำผลไม้ดื่มแก้กระหายส้มโอ นำมาทำเป็นอาหารหรือกับแกล้มรสเด็ด อย่างเช่น ยำส้มโอส้มโอ มีวิตามินและแร่ธาตุช่วยบำรุงร่างกายให้แข้งแรง อาทิ โปรตีน, คาร์โบไฮเดรต, แคลเซียม ซึ่งช่วยบำรุงกระดูกและฟัน, เหล็ก, ฟอสฟอรัส, วิตามินบี 1 ช่วยในการย่อยอาหาร เสริมสร้างการทำงานของกล้ามเนื้อและหัวใจ, วิตามินบี 2 ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด และวิตามินซีที่มีมากจะช่วยในการป้องกันเลือดออกตามไรฟัน และป้องกันโรคหวัดได้ดี

มะปราง

มะปราง
มะปราง มีรูปร่างยาวรี มีสีเหลือง รสหวาน หรือหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย มะปรางเป็นผลไม้ที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน นิยมปลูกกันมากทางภาคใต้
ลักษณะ มะปรางเป็นพรรณไม้ยืนต้น มีขนาดสูงประมาณ 20 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ลำต้นมีผิวเปลือกค่อนข้างขรุขระ เป็นร่องสีน้ำตาลอมเทาใบ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ใบรูปร่างยาวรี ช่วงปลายมีกิ่งแหลม ยาวประมาณ 10-20 ซ.ม.ดอก ออกเป็นช่อกระจาย ขนาดเล็กสีเหลืองผล รูปร่างยาวรี คล้ายรูปไข่ ยาวประมาณ 5-6 ซ.ม. ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกหรือแก่มีสีเหลืองส้มเปลือก มีผิวเกลี้ยงเป็นมัน ภายในมีเมล็ด 1 เมล็ดส่วนที่ใช้ ผล ใบ น้ำจากต้น รากสรรพคุณทางยาสมุนไพร
ผลมะปราง ใช้รับประทานเป็นผลไม้รากมะปราง เป็นยาเย็น ใช้ถอนพิษไข้ต่างๆน้ำจากต้นมะปราง ใช้เป็นยาอมกลั้วคอใบมะปราง ตำใช้พอกแก้ปวดศีรษะคุณค่าทางอาหาร
เราสามารถนำมะปรางมาทำเป็นน้ำผลไม้ได้ ซึ่งได้รสชาติที่ดีด้วย ในผลมะปรางสุกนั้นปรากฏว่ามีวิตามินซีมากมาย ช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟันและโรคหวัด แถมยังมีแคลเซียม ช่วยป้องกันกระดูกและฟัน เปราะหักง่าย วิตามินบี 1 ในมะปรางช่วยในการย่อยอาหาร เสริมสร้างการทำงานของกล้ามเนื้อและหัวใจ ป้องกันเหน็บชา และวิตามินบี 2 ช่วยในการทำงานของร่างกายในด้านการเจริญเติบโตที่เป็นปกติ

มะระกอ


มะละกอ
มะละกอ เดิมเป็นผลไม้พื้นเมืองของทวีปอเมริกา แต่ที่เข้ามาออกลูกออกหลานขยายพันธุ์อยู่เต็มบ้านของเราได้ เพราะชาวยุโรปได้นำมาแพร่พันธุ์จนกระทั่งได้กระจายไปทั่วทุกภาคเอเชีย โดยเฉพาะบ้านเราที่ขึ้นชื่อมาก แม้แต่ฝรั่งยังรู้จักกันอย่างกว้างขวางในนามใหม่ว่า ปาปา ย่า ป๊อก ป๊อก
ลักษณะทั่วไป มะละกอ เป็นพรรณไม้เนื้ออ่อน สูงได้ถึง 8 เมตร ไม่แตกกิ่งก้านสาขา ลำต้นตรงมีเนื้ออ่อนฉ่ำน้ำ
ใบ เป็นแฉก มีรอยเว้าเล็กๆ คล้ายขนนก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 60 ซ.ม.
ดอก เป็นช่อ ดอกตัวผู้มีสีเหลืองออกสีเขียวอ่อน กลีบบางยาวประมาณ 2 ซ.ม. ดอกตัวเมียไม่มีก้านดอก ยาวประมาณ 7 ซ.ม. ออกเป็นดอกเดี่ยวและกระจุก กลีบดอกสีขาวออกเหลือง
ผล มีลักษณะกลมยาวรี ผลอ่อนภายนอกมีสีเขียวเนื้อในสีขาว แต่เมื่อสุกงอมได้ที่จะมีสีเหลืองส้ม เนื้อหนา นุ่ม รสฉ่ำหวาน มีเมล็ดคล้ายรูปไข่สีน้ำตาลดำ ผิวขรุขระอ่อนค่อนข้างมาก ยาว 6-7 ซ.ม. มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4-5 ซ.ม.
ส่วนที่ใช้ ผล ยาง ราก ใบ

สรรพคุณทางยาสมุนไพร
นำผลดิบและผลสุกมาต้มกินเป็นยา ขับน้ำดี น้ำเหลือง บำรุงน้ำนม ขับพยาธิ รักษาโรคริดสีดวงทวาร ผลสุกเป็นยาแก้ท้องผูกที่วิเศษสุดๆ ถ่ายคล่องเป็นยาระบายได้อย่างดีเยี่ยม นำเนื้อสุกมาปั่น แล้วพอกหน้าทิ้งไว้ 5-10 นาที แล้วล้างออกใบหน้าจะชุ่มชื้นขึ้น
คุณค่าทางอาหาร
มะละกอ สามารถนำไปประกอบอาหารต่างๆ ได้อย่างวิเศษมากมายหลายอย่าง
มะละกอดิบ ถ้าใช้ทำเป็นอาหารยอดนิยม คงหนีไม่พ้นส้มตำ
มะละกอดิบ หั่นเป็นแว่นๆ พอคำ นำไปแกงส้มใส่ปลาช่อนใส่กุ้ง
มะละกอสุก นำมาปลอกเปลือกแล้วล้างให้สะอาดหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปปั่น ผสมน้ำตาล และเกลือป่น ตามอัตราส่วนที่เหมาะสม และเหมาะสำหรับคลายร้อนได้เป็นอย่างดี และมีคุณค่าทางโภชนาการอาหารอย่างมากมาย
มะละกอมีเกลือแร่ และวิตามินมาก มีคุณค่าทางอาหารไม่น้อย แคลเซียมในมะละกอช่วยป้องกันฟันผุ วิตามินซีช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟัน วิตามินเอช่วยในบำรุงสายตาและระบบประสาท และยังมีสารอาหารอื่นๆ อีกมาก

ข้าวโอ๊ด


ข้าวโอ๊ต
ข้าวโอ๊ต ( Oat ) เป็นพืชที่จัดอยู่ในตระกูล Avena sativa ที่นิยมเพาะปลูกใน แถบยุโรปตอนเหนือ เนื่องจากเจริญเติบโตได้ดี ในเขตหนาว ชาวยุโรปนิยมรับประทานเป็นอาหารเช้า ข้าวโอ๊ต เป็นพืชที่ให้เมล็ดซึ่งมีคุณค่าทางอาหารมากมาย โดยเฉพาะจำพวกแป้งหรือคาร์โบไฮเดรต
รำข้าวโอ๊ต ( Oat Bran ) เป็นเส้นใย Fiber ที่ได้จากการขัดสี ข้าวโอ๊ต ให้ขาว หรือ คือเส้นใยบางๆ ที่ห่อหุ้มเมล็ด ข้าวโอ๊ต นั่นเอง โดยเราพบว่า รำข้าวโอ๊ต จะให้เส้นใยอาหาร หรือ fiber 2 ชนิด คือ
1. เส้นใยชนิดที่ละลายน้ำได้( Soluble Fiber) – ในอัตราส่วน 95-98% ของปริมาณ เส้นใยอาหารทั้งหมด ซึ่งเมื่อละลายน้ำแล้วจะทำให้เกิดสารละลายที่มีลักษณะเป็นเจล โดยเมื่อรับประทานเข้าไป ไฟเบอร์นี้จะละลายในสารอาหารก่อนที่ สารอาหารจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ดังนั้นเจลของไฟเบอร์จะเกาะติดกับสารอาหาร โดยเฉพาะไขมัน ทำให้ไขมันและสารอาหารอื่นๆ ไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย และจะเอาอาหารขับออกทางอุจจาระ จึงทำให้ลดไขมันคลอเรสเตอรอลในเลือดได้
2. เส้นใยชนิดที่ไม่ละลายน้ำ( Non-soluble Fiber) – ในอัตราส่วน 2-5 % ของ ปริมาณเส้นใยอาหารทั้งหมด โดยจะมีคุณสมบัติคล้ายฟองน้ำ โดยจะดูดซับน้ำใว้กับตัวเองทำให้พองตัว เมื่อรับประทานเข้าไปจึงจะส่งผลให้ จึงทำให้ ปริมาตรของสารที่ต้องการขับถ่ายเคลื่อนตัวผ่านลำไส้ได้เร็วขึ้น ป้องกันและรักษาปัญหาท้องผูกได้
ดังนั้นประโยชน์ของการรับประทานอาหารที่ผลิตจาก รำข้าวโอ๊ต จึงนำมาใช้ในผู้ที่ต้องการลดน้ำตาลและไขมันในเลือด อาทิ ผู้ป่วยเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ และผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก แต่ขณะเดียวกันต้องคำนึงถึง สารอาหารและวิตามินที่จำเป็นบางอย่างในอาหาร อาจ ถูกขับถ่ายออกไปด้วย
ขนาดที่รับประทานครั้งละ 1,000 มิลลิกรัม โดยรับประทานก่อนอาหาร 20-30 นาทีทั้ง 3 มื้อ และดื่มน้ำตามประมาณ 1-2 แก้ว ราคาที่ขายตาม ท้องตลาดหรือร้านขายยา ประมาณ 11-12 บาทต่อแคปซูล (1000 มิลลิกรัม) แพงเอาการอยู่เหมือนกันนะครับ
ข้าวโอ๊ตพบมากในประเทศแถบยุโรป เป็นไฟเบอร์ที่ช่วยลดการดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย และรำข้าวโอ๊ตจะเกาะติดกับไขมันทำให้ร่างกายดูดซึมไขมันไปได้น้อย อีกทั้งยังช่วยในการขับถ่าย ลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้ ไม่ทำให้ท้องผูก รำข้าวโอ๊ต บรรจุอยู่ในรูปของแคปซูลราคาค่อนข้างสูง

มะขามป้อม

มะขามป้อม
มะขามป้อม เป็นผลไม้เก่าแก่ ที่คนเฒ่าคนแก่จะรู้จักและตระหนักถึงคุณค่าของ มะขามป้อม เป็นอย่างดี ว่ากันว่าชนชาติที่รู้จัก มะขามป้อม มาช้านาน และแพร่หลายมากที่สุดในโลกเห็นจะได้แก่อินเดีย ซึ่งให้ความนับถือมะขามป้อมมากถึงกับขนาน มะขามป้อม ว่าเป็นพยาบาลที่ดูแลสุขภาพอยู่ข้างกายอีกนัยหนึ่งก็เปรียบเสมือนแม่ที่ดูแลรักษาลูกอยุ่เสมอ นอกจากนั้นยังมีการเล่าขานกันว่า เมื่อครั้งสมัยพุทะกาล พระพุทะเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุทั้งหลายฉัน มะขามป้อม เป็นโอสถได้
ลักษณะ มะขามป้อมเป้นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดสูงประมาณ 7-15 เมตร ลำต้นมีเปลือกเรียบเกลี้ยง ลอกออกเป็นแผ่นๆ
ใบ ใบเดี่ยวเรียงชิดติดกันคล้ายขนนก ปลายใบยาวรี สีเขียวแก่ ยาวประมาณ 1 ซ.ม.
ดอก ออกดอกเป็นช่อหรือเป็นกระจุก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียแยกกันอยู่บนต้นเดียวกัน หนึ่งดอกมีกลีบดอกประมาณ 5-6 กลีบ มีสีเหลืองอมเขียวผล รูปร่างกลม ผิวเกลี้ยง เนื้อหนา รสฝาด มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซ.ม. เปลือกแบ่งเป็นสันความยาว 6 ซ.ม.ภายในเนื้อ มีเมล็ดสีน้ำตาลอยู่ 6 เมล็ดส่วนที่ใช้ ใบ เปลือกลำต้น ผล ปมที่ก้าน ราก
สรรพคุณทางยาสมุนไพร
รากแห้งของมะขามป้อม ใช้ต้มดื่มแก้ร้อนใน แก้ท้องเสีย แก้โรคเรื้อน ลดความดันโลหิต
รากสดมะขามป้อม นำมาพอกแผลเมื่อโดนตะขาบกัด สามารถแก้พิษได้
เปลือกลำต้นมะขามป้อม ใช้เปลือกแห้งบดเป็นผง โรยบาดแผลหรือนำมาต้มดื่มแก้โรคบิด และฟกซ้ำ
ปมก้าน ใช้เป็นน้ำยาบ้วนปากแก้ปวดฟัน โดยนำปมก้าน 10-30 อัน มาต้มกับน้ำแล้วใช้อมหรือดื่มแก้ปวดท้องน้อย กระเพาะอาหาร แก้ปวดเมื่อยกระดูก แก้ไอ แก้ตานซางในเด็ก
ผลมะขามป้อมสด ใช้รับประทานเป็นผลไม้แก้กระหายน้ำได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังเป็นยาบำรุง แก้หวัด แก้ไอ ละลายเสมหะ ขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย รักษาคอตีบ รักษาเลือกออกตามไรฟัน หรือจะนำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้ง รับประทานเป็นยาถ่ายพยาธิ
ผลมะขามป้อมแห้ง นำมาบดชงน้ำร้อนแบบชาดื่มแก้ท้องเสีย โรคหนองในบำรุงธาตุ รักษาโรคบิด ใช้ล้างตา แก้ตาแดง เยื่อบุตาอักเสบ แก้ตกเลือด ใช้เป็นยาล้างตา หรือจะผสมกับน้ำสนิมเหล็กแก้โรคดีซ่าน โลหิตจาง
เมล็ด นำมาเผาไฟจนเป็นเถ้าผสมกับน้ำมันพืช ทาแก้ตุ่มคัน หืด หรือตำเป็นผงชงน้ำร้อนดื่มรักษาโรคเบาหวาน หอบหืด หลอดลมอักเสบ รักษาโรคตา แก้คลื่นไส้ อาเจียนคุณค่าทางอาหาร
มะขามป้อมมีรสชาติถึง 5 รสด้วยกัน คือ เปรี้ยว หวาน เผ็ดร้อน ขม ฝาด ถือได้ว่า ทุกส่วนของมะขามป้อม มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายเราทั้งสิ้น ในมะขามป้อม 1 ผล มีวิตามินซีสูงถึง 700-100 มิลลิกรัม มะขามป้อมนับว่า เป็นยาอายุวัฒนะขนานหนึ่ง ทางที่ดีเราควรหันมาบริโภคมะขามป้อม เป็นยาบำรุงและบำบัดโรคกันเถอะ วิธีง่ายๆ โดยวิธีทำเป็นมะขามป้อมกวนหรือลูกอมก็ได้ ถือเป็นการส่งเสริมสมุนไพรไทยอีกทางหนึ่ง จะเห็นได้ว่าในมะขามป้อมนั้น มีแคลเซียมสูงมาก ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง และยังมีวิตามินซี ช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟันได้อีกด้วย

มะม่วง


มะม่วง
มะม่วง ผลไม้ยอดฮิตที่นิยมบริโภคตลอดปี ไม่ว่าจะบ้านไหน เรือนไหนก็นิยมปลูกกันไว้ในรั้วบ้าน มะม่วง นอกจาก จะนำมารับประทานได้หลายรูปแบบแล้วยังเป็นไม้ยืนต้นที่ให้ร่มเงาได้เป็นอยางดี ส่วนอื่นๆ ก็นำมาใช้ประโยชน์ได้ อาทิ ใบ ดอกมะวม่วง มีวิตามินเอและซีสูง และยังมีสารอาหารอื่นๆ อีก เรียกได้ว่า มะม่วงลูกหนึ่งมีสารอาหารเกือบ ครบเลยทีเดียว โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ อาจหายไปได้โดยที่เราไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ เพราะมะม่วงก็มีสรรพคุณทางยาสมุนไพรมากเหมือนกัน ลักษณะ มะม่วง เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูง เปลือกต้นหนาสีเทาขรุขระแตกเป็นเกร็ดๆ แตกกิ่งก้านสาขาออกไปรอบต้นมากมาย
ใบ เป็นไม้ใบเดี่ยว ลักษณะของใบเรียวแหลม คล้ายรูปหอก กว้าง 2-9 ซ.ม. ยาว 10-30 ซ.ม. ใบหนารอบใบเรียบ
ดอก ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ ช่อหนึ่งมีประมาณ 15-20 ดอก แต่ละช่อมีดอกย่อยถึง 3000 ดอก มีสีเหลืองอ่อน มี กลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีกลีบดอก 5 กลีบ
ผล มีรูปร่างคล้ายรูปไต ผลดิบมีสีเขียว ผลสุกมีสีเหลืองและรสหวาน หนึ่งผลมีเมล็ดเดียว ลักษณะแบน เป็นรูปไข่รีขนาดใหญ่
ส่วนที่ใช้ เมล็ด ผล ใบ เปลือกลำต้น
สรรพคุณทางยาสมุนไพร
เมล็ดสดๆ มารับประทาน หรือนำมาโรยเกลือ รับประทานเพื่อขับปัสสาวะหรือแก้บวมน้ำ เนื้อในเมล็ดใช้แก้ท้องร่วง ผลมะม่วง นำมาคั้นรับประทานเป็นยาขับปัสสาวะหรือร้อนใน แก้คลื่นไส้ แก้บิดถ่ายเป็นเลือด และใช้เป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร ใบมะม่วง นำมาพอประมาณต้มรับประทานแก้ซางตานขโมยในเด็ก แก้ลำไส้อักเสบ หรือใช้ใบสดๆ ตำพอกบริเวณที่เป็นแผลสด จะเป็นยาสมานแผลสดได้ดีที่เดียว เปลือกลำต้นมะม่วง ใช้เปลือกสดๆ มาต้มรับประทานเป็นยาแก้โรคคอตีบ เยื่อปากอักเสบ จมูกอักเสบ


คุณค่าทางอาหาร
มะม่วงดิบมักออกรสเปรี้ยว เอาไปทำของคาวได้หลายอย่าง ที่เห็นบ่อยมากคือ นำไปจิ้มน้ำพริก ใช้ยำ หรือผสมอาหารที่มีรสเปรี้ยวแทนมะนาว เช่น ยำมะม่วง น้ำพริก ต้มยำ ในส่วนที่นำไปเป็นของว่างนั้น มะม่วงดิบรับประทานเป็นมะม่วงน้ำปลาหวาน เมี่ยงส้ม มะม่วงสุกที่มีรสหวาน นำมารับประทานกับข้าวเหนียว กวนเป็นแผ่น หรือนำมาคั้นเป็นน้ำผลไม้ มะม่วงอุดมด้วยฟอสฟอรัส และแคลเซียมที่ช่วยบำรุงกระดูกและฟันไม่ให้เปราะหักง่าย นอกจากนั้นยังมีวิตามินซี อยู่ในปริมาณมาก ช่วนเสริมสร้างภูมิคุ้นกันให้แข็งแรง ป้องกันโรคต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาโรคเลือดออกตามไรฟัน โรคหวัด และมีวิตามินบี 1 ป้องกันโรคเหน็บชา วิตามินบี 2 ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด

มะขาม


มะขาม
มะขาม เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่ให้ประโยชน์ ทั้งให้ร่มเงาแถมผลยังสามารถนำมารับประทานดิบๆ โดยนำมาจิ้มพริกกับเกลือหรือน้ำปลาหวาน บ้างครั้งก็นำมาทำส้มตำ ทำน้ำพริก ฝักที่สุกแล้วนั้นยังนำมารับประทาน มีทั้งรสเปรี้ยวและหวาน ตัวอย่างสรรพคุณทางยาสมุนไพร รับประทานเพื่อถ่ายพยาธิ
ลักษณะ มะขาม เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 8-20 เมตร โตช้ามีอายุอยู่ได้เป็นร้อยๆ ปี แตกกิ่งก้านใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 8-12 คู่ขนาดเล็กรูปขอบขนานกว้างประมาณ 4-7 ซ.ม. ยาวประมาณ 1.2-1.8 ซ.ม. มีสีเขียวดอก จะออกเป็นช่อเล็กๆ บานจากล่างไปบน กลีบดอกช่อหนึ่งจะมีดอกอยู่ประมาณ 10-15 ดอก กลีบดอกสีเหลืองมีปนแดง มีรสเปรี้ยวผล เป็นฝัก ฝักอ่อนจะมีสรเขียวมีขนเป็นขุยสีน้ำตาลปกคลุม เมื่อผลแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ขณะที่ผลยังอ่อนอยู่เปลือกจะติดกับเนื้อ เมื่อแก่แล้ว เปลือกจะแยกออกจากเนื้อเปราะแตกง่าย เนื้อในเมื่อยังอ่อนไปจนถึงโตเต็มที่จะมีสีเขียวอมขาว แข็ง เมล็ดสีเขียว เมื่อผลแก่จัดเนื้อในจะเปลี่ยนเป็นสรน้ำตาลนิ่ม เมล็ดก็เปลี่ยนสีเป็นน้ำตาลแข็งด้วยส่วนที่ใช้ ใบอ่อน ใบแก่ ฝักอ่อน ฝักแก่ ดอก เนื้อใน เมล็ดแก่และเนื้อไม้
สรรพคุณทางยาสมุนไพร
- ใบอ่อน มะขาม นำมาต้มเอาน้ำโขลกศีรษะ แก้หวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล ส่วนใบสดก็นำมาต้มน้ำอาบหลังสตรีคลอดบุตรใช้ผสมกับสมุนไพรอื่น เนื่องจากในใบมะขามสดมีรสเปรี้ยวมีกรดหลายชนิดช่วยทำให้ผิวหน้าสะอาดขึ้น
- ใบและดอก ของมะขามนำมาต้มรับประทาน น้ำช่วยลดความดันโลหิตได้ดีมาก
- มะขามเปียก นำมาปั้นเป็นลูกกลมๆ จนเป็นลูกกลอน แล้วจิ้มเกลือเพียงเล็กน้อย รับประทานหรือกลืนพร้อมกับน้ำสะอาดเป็นยาระบาย ขับเสมหะ
- น้ำส้มมะขามเปียก ผสมกับเกลือ ใช้แก้ท้องผูก ใช้แก้พรรดึก โดยการสวนทวาร ใช้พอกตัวได้ โดยผสมกับขมิ้นและน้ำผึ้ง
- เมล็ดมะขาม นำที่แก่ได้ที่แล้วนำมาคั่วและกะเทาะเปลือกออกนำมาแช่น้ำที่ผสมเกลือป่นรับประทานเป็นยาขับพยาธิ ส่วนเปลือกที่กะเทาะออกังมีประโยชน์อย่านำไปทิ้ง รับประทานเป็นยาแก้อาเจียน แก้ท้องร่วง เป็นยาสมานธาตุ คุมธาตุ
- เส้นฝอย หุ้มเปลือกมะขามหรือเรียกว่า รก ใช้เป็นยาแก้ ประจำเดือนไม่ปกติ ดื่มน้ำมะขามจะช่วยลดอุณหภูมิในร่างกายโดยเฉพาะคนไข้หรือผู้ที่อาศัยในที่ร้อนอบอ้าว และยังช่วยลดอาการกระหายน้ำได้อีกด้วย
คุณค่าทางอาหาร
มะขาม มีคุณค่าวิเศษมากจริงๆ นำมาปรุงอาหารไทยๆ ได้หลายอย่างเพียงแค่นำมะขามที่แก่แล้วมาแกะเอาเมล็ดออกปั้นไว้เป็นก้อนๆ ก็จะได้มะขามเปียกเอาไว้รับประทานได้เป็นปีๆ ลองมาพิจารณากันว่า ประโยชน์ที่ได้จากมะขามมีมากมายเพียงใด
- มะขามเปียก ใช้เป็นเครื่องปรุงในแกงส้ม นำเอามะขามเปียกมาคั้นใส่น้ำแกงส้ม ไม่ว่าจะแกงส้มชนิดใดก็ตาม
- มะขามเปียก นำมาคั้นผสมกับน้ำพริกเผา ซึ่งจำเป็นมากเพราะน้ำพริกเผาจะขาดมะขามเปียกไม่ได้เลย
- มะขามเปียก เพียงแค่เอาน้ำมาคั้นใส่ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย ก็จะได้ผัดไทยที่อร่อยครบสูตร
- มะขาม นำใบหรือยอดอ่อนๆ นำมาต้มรวมกับปลาช่อน ปลาสลิดเค็มเป็นต้มโคล้งแสนอร่อย
- มะขามเปียก นำมาคั้นใส่น้ำตาลทราย และน้ำสะอาดในอัตราส่วนที่เหมาะสมนำไปต้มเคี่ยวกับไฟอ่อนๆ ดื่มกับน้ำแข็งก้อนได้น้ำมะขามดื่มแก้กระหายได้อย่างสดชื่น
มะขาม มีวิตามินซีที่ต่อต้านอาการไข้หวัดได้สูง วิตามินเอช่วยในการบำรุงสายตาและการทำงานของระบบประสาท แคลเซียมช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน หรือเหล็กก็มีอยู่ไม่ใช่น้อย นอกจากนี้ยังมีคาร์โบไฮเดรต ไขมัน เส้นใยอาหารและวิตามินบี 1 ป้องกันโรคเหน็บชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง วิตามินบี 2 ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกายและป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือดและสารอาหารสำคัญอีกมากมาย

กล้วย

กล้วย
กล้วย เปรียบเสมือนผลไม้สารพัดประโยชน์ ที่สามารถนำมาประกอบอาหาร ได้หลากหลายชนิด ไม่ว่าส่วนใดของกล้วยก็สามารถนำมาใช้ได้ ผลอ่อน ผลแก่ หยวก ก้านใบช่อดอกหรือปลี ล้วนทั้งสามารถนำมาทำอาหารคาว หวาน หรือถนอมอาหารเก็บไว้ได้นาน เช่น กล้วยฉาบ กล้วยตาก
ลักษณะ กล้วย เป็นพรรณไม้ล้มลุก สูงประมาณ 2-5 เมตร ลำต้นที่เห็นเป็นก้านใบหุ้มซ้อนกันใบ หรือใบตองกล้วยมีใบขนาดใหญ่ ลักษณะเป็นแผ่นยาวประมาณ 1.50 เมตร กว้างประมาณ 40-60 ซ.ม. มีสีเขียว เส้นใบขนานกันดอก จะออกดอกเป็นช่อห้อยลงมามีกาบหุ้มสีแดงอมม่วง เรียกว่า หัวปลี รูปร่างกลมรี มีดอกย่อยติดกันมาเป็นแผง ดอกตัวเมียจะอยู่ที่ฐานส่วนดอกตัวผู้จะอยู่ช่วงปลายผล หลังจากดอกตัวเมียเริ่มเจริญเป็นผล ดอกตัวผู้ก็จะร่วงไป ช่อดอกจะเจริญต่อไปเป็นเครือกล้วย ที่ประกอบด้วยหวีกล้วยประมาณ 7-8 หวี ผลกล้วยอ่อนมีสีเขียว พอแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองส่วนที่ใช้ ผลดิบ ผลสุก หัวปลี ยางกล้วยจากใบ
สรรพคุณทางยาสมุนไพร- กล้วย มีความสำคัญและมีประโยชน์ ตั้งแต่ด้านการใช้สอย ความเชื่อด้านพิธีกรรม ประโยชน์คุณค่าทางอาหารแล้วยังเป็นยารักษาโรคได้ดีอีกอย่างด้วย- ผลกล้วยดิบ นำมาฝานทั้งเปลือกตากแห้งแล้วนำมาบดให้ละเอียดเป็นผงชงดื่ม เป็นยาแก้ท้องเดิน และรักษาแผลในกระเพาะอาหาร- ผลกล้วยสุก ช่วยในการระบายเป็นยาอายุวัฒนะ เมื่อนำผลสุก 1 ผล มาผสมกับน้ำผึ้งรับประทานก็จะช่วยระบาย- รากกล้วย นำมาตำพอกแก้เคล็ดขัดยอก รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก- ยางกล้วย มีสารเทนินใช้สมานในการห้ามเลือด แผลสด แมลงสัตว์กัดต่อย รักษาโรคลิ้นเป็นฝ้าขาวในเด็ก- หัวปลี ช่วยบำรุงน้ำนม นิยมนำมาทำเป็นแกงเลียงให้แม่ลูกอ่อนรับประทาน และยังบำรุงเลือดด้วย- เปลือกกล้วย ที่รับประทานแล้วนั้น นำมาถูส้นเท้า ฝ่ามือ นิ้มป้องกันและระงับเชื้อแบคทีเรีย
คุณค่าทางอาหาร
- กล้วย ไทยที่มีชื่อเสียงดังก้องไปทั่วโลกว่ามีรสหอมกว่ากล้วยของประเทศอื่น คือ กล้วยหอม ส่วนกล้วยที่ใช้ประโยชน์มากที่สุด คือ กล้วยน้ำหว้า วิธีใช้ในการประกอบอาหารของ กล้วย นั้นมีอยู่หลายวิธี
- กล้วยสุก นำไปเผาทั้งเปลือก แล้วขูดเอาแต่เนื้อนำไปบดกับข้าวถือว่าเป็นอาหารชนิดแรกของคนไทย นอกจากนมแม่
- กล้วยดิบ ใช้ทำเป็นแป้งไว้ผสมอาหารอื่น
- กล้วย นำมาถนอมอาหารสามารถเก็บไว้ได้นาน เช่น กล้วยฉาบ กล้วยตาก กล้วยกวน ข้าวเกรียบกล้วย
- กล้วยตานี หั่นเป็นแว่นๆ ดองน้ำส้ม เกลือ น้ำตาล เป็นผักจิ้มหรือของขบเคี้ยวอาหารว่าง
- กล้วยดิบ อื่นๆ ใช้แกงป่า ให้ทำต้มยำ
- หัวปลี ทำแกงเลียง ทำเครื่องเคียงขนมจีน น้ำพริก
- หยวกกล้วยอ่อน ใช้แกงส้ม ต้มจิ้มน้ำพริก
จะเห็นว่าคุณค่าทางโภชนาการและอาหารของกล้วยมีสูง ดีต่อร่างกาย หาซื้อง่าย หากรับประทานเป็นปกติก็จะส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย โดยเฉพาะให้พลังงานสูง แคลเซียมในกล้วยช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน วิตามินก็ครบครันทั้งวิตามินบี 1 ป้องกันโรคเหน็บชา วิตามินบี 2 ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายตามปกติ วิตามินซี ป้องกันโรคหวัด โรคเลือดออกตามไรฟัน และยังมีสารอาหารมากคุณค่าอื่นๆ อีก

มะเฟือง

มะเฟือง
มะเฟือง ผักและผลไม้รสเปรี้ยวของบ้านเรา เป็นไม้ช่วยบังร่ม เจริญเติบโตในดินทุกชนิด ไม่ว่าจะชื้อแฉะหรือแห้งแล้ง ก็ตาม โดยเฉพาะภาคอีสานจะมีมาก เพราะนิยมนำ มะเฟือง มาทำเป็นผักแกล้มหรือเป็นเครื่องเคียงแหนมเนือง (อาหารชนิดหนึ่งของเวียดนาม) อีกทั้ง มะเฟือง สามารถกินสดๆ เป็นผลไม้หรือคั้นเป็นน้ำดื่ม นอกจากนั้นแล้วยังนำมาเป็นยาสมุนไพรในการรักษาโรคได้อีกทางด้วย
ลักษณะ มะเฟือง เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กจนถึงขนาดกลางมีความสูงได้ถึง 8 เมตร มีใบคล้ายกับรูปขนนกออกเรียงกันเป็นคู่ๆ ยาวประมาณ 10-15 ซ.ม. ปลายใบแหลมฐานใบเบี้ยวเล็กน้อย ริมขอบใบเรียบและเกลี้ยง มีก้านใบย่อยสั้น ลักษณะของดอกเล็กออกจากง่ามใบ
ดอก มีสีขาวถึงสีม่วงอ่อน ผลมีรูปร่างกลมหรือกลมยาวมี 3-5 กลีบ ผลอ่อนมีสีเขียวออกเหลือง หากสุกหรือแก่งอมเต็มที่ก็จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองออกเมล็ด
ส่วนที่ใช้ ราก ผล ใบ ดอก

สรรพคุณทางยาสมุนไพร
บรรพบุรุษของเรานำ มะเฟือง มาเป็นยาสมุนไพรรักษาโรคต่างๆ มากมายหลายขนาน
ใบมะเฟือง นำใบสดๆ มาตำ ทาเป็นยารักษาโรคอีสุกอีใส และกลากเกลื้อน นำมาต้มรับประทานเป็นยาถอนพิษไข้
ผลมะเฟือง นำมาต้มรับประทานเป็นยา แก้บิด อาเจียนเป็นเลือด ขับปัสสาวะ ปวดฟัน นิ่ว และแก้เลือดออกตามไรฟัน
เปลือกลำต้นมะเฟือง นำมาดื่มแก้อาการเมาเหล้า เมารถ แก้ไข้ ท้องร่วง และแก้พิษยาเสพติดที่ร้ายกาจอย่างเฮโรอีนได้

คุณค่าทางอาหาร
- นอกจากจะเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์สูงแล้ว ยังจัดเป็นดาวเด่นของวงการผักอีกด้วย
- มะเฟือง เป็นผักรสเปรี้ยวนำมารับประทานเป็นเครื่องเคียงกับแหนมเนืองอาหารเวียดนามได้เด็ดมาก
- มะเฟือง นำมาทำสลัดหรือปรุงอาหารประเภทไก่ ประเภทปลา หรือนำมาแปรรูปเป็นน้ำมะเฟืองอัดกระป๋องขาย

มะเฟือง มีวิตามินซีซึ่งป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน วิตามินใน มะเฟืองสด ทำให้เนื้อเยื่อแข็งแรง จับสารก่อมะเร็ง ช่วยทำให้เหงือกแข็งแรง เพิ่มกำลังให้เสปิร์มของผู้ชายและทำให้เรารู้สึกสดชื่นและปลอดโปร่งในอารมณ์ ส่วนวิตามินบี 1 จะช่วยป้องกันโรคเหน็บชา มะเฟืองนี้เราถือว่าเป็นพืชสมุนไพรอย่างหนึ่งในการบำบัดรักษาโรค สามารถนำมาต้มน้ำดื่มแก้ไข้หวัดใหญ่ ส่วนรากต้มกินแก้ท้องร่วง และผลสามารถนำมาสระผมบำรุงเส้นผมให้เงางาม และขจัดรังแค

มะนาว


มะนาว
มะนาว ถือเป็นผักและผลไม้ เพราะ มะนาว นำมาประกอบอาหารเป็นเครื่องปรุงแต่งรสอาหาร มีรสเปรี้ยว ทั้งยังนำมาเป็นผลไม้โดยคั้นเอาน้ำมาดื่มกันสดๆ หรือนำไปปั่นดื่มแก้กระหายได้ทุกโอกาส ถ้าใครอยากมีผิวพรรณสวยผิวดีก็ต้องบริโภคน้ำมะนาวเป็นประจำ เพียงวันละแก้วก็เพียงพอแล้ว นอกจากนั้น มะนาว ยังมีคนนำมาผสมกับเครื่องสำอางเช่น ครีมล้างหน้าก็มี สรรพคุณทางสมุนไพรก็มีมากเหลือเกิน
ลักษณะ มะนาว เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 1.5-4 เมตร แตกกิ่งก้านสาขา ต้มกิ่งมีหนามแหลมคม เปลือกลำต้นมีผิวเรียบเกลี้ยงใบ เป็นใบประกอบใบย่อยใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันมีครีบ มีกลิ่นหอมดอก ออกเป็นช่อร่วมกันเป็นกระจุกเล็กๆ ประมาณ 5-7 ดอก มีสีขาวกลิ่นหอมผล กลมผิวเรียบเกลี้ยง มีหลายขนาดแล้วแต่พันธุ์ ผลอ่อนมีสีเขียวเข้ม เมื่อแก่ก็เปลี่ยนเป็นสีเหลือง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4.5 ซ.ม. ภายในผลมีน้ำรสเปรี้ยวจัด ภายในเนื้อมีเมล็ดสีเหลืองอ่อน รูปร่างกลมรีส่วนที่ใช้ ผิวผล ผลแก่จัด ใบ ราก
สรรพคุณทางยาสมุนไพร
มะนาว มีคุณค่าสรรพคุณทางยามากมาย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ปรุงยารักษาโรคต่างๆ ได้เป็นอย่างดีมะนาว นำมาคั้นหรือบีบเอาน้ำนับว่ามีสรรพคุณมากมาย น้ำมะนาวนำมาผสมกับดอกดีปลีที่ฝนกับน้ำสุก ใส่เกลือป่นลงไปเล็กน้อยรับประทานเป็นยาแก้เสมหะ แก้เจ็บคอน้ำมะนาว นำมาผสมกับสีเสียดที่บดละเอียดตามสัดส่วนที่เหมาะสม แล้วนำมาพอกบริเวณบาดแผลสด ห้ามเลือดได้ดีมากแผลแห้งหายเร็วน้ำมะนาวสด นำมาผสมกับดินสอพอง ทารักษาอาการอักเสบช้ำบวมน้ำมะนาว นำมารับประทานช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด และละลายก้อนนิ่วในกระเพาะปัสสาวะน้ำมะนาว นำมาทาบริเวณผิวหนังที่หยาบกร้าน หนา แข็ง จะค่อยๆ อ่อนนุ่ม รักษาโรคติดเชื้อที่ผิวหน้า นอกจากนั้นยังช่วยบำรุงประสาท ลดความดันโลหิตสูง ป้องกันบาดทะยัก รักษาอาการโลหิตจาง รักษาโรคกระเพาะอาหารและโรคบิดได้ชะงัดนักเปลือกมะนาว นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ โขลกให้ละเอียดนำมาชงกับน้ำร้อนดื่มเช่นเดียวกับชา แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ เรอเปรี้ยว จุดเสียดแน่นท้อง คลื่นเหียน อาเจียนเปลือกมะนาว นำมาโขลกให้ละเอียดรวมกับน้ำมะนาวผสมกับน้ำต้มสุกให้หมักผมประมาณ 10 นาที แล้วสระออกช่วยกระตุ้นให้รากผมตื่นตัว เจริญงอกงาม รังแคหาย เส้นผมสะอาด หนังศีรษะสะอาดใบมะนาว นำใยสดมาต้มดื่มแก้ไอ แก้ท้องอืด ขับลมทำให้เจริญอาหาร
คุณค่าทางอาหาร
มะนาว คั้นหรือบีบเอาน้ำมะนาวมาปรุงอาหารต่างๆ โดยเฉพาะอาหารประเภทยำ น้ำพริกปลาทู น้ำพริกปลาร้า ลาบ ส้มตำ หรือจะเอาผลไปดองไว้ปรุงอาหาร ประเภทต้มหรือแกงได้รสชาติที่อร่อยถูกปาก น้ำมะนาว เมื่อนำมาผสมกับเกลือป่นใส่น้ำแข็ง ดื่มแก้กระกายได้เป็นอย่างดีอีกด้วยมะนาว นั้น มีสารอาหารอยู่หลายชนิด เช่น Slaronoid Organic acid citral โดยเฉพาะวิตามินซีนั้นมีอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งช่วยออกฤทธิ์รักษาโรคลักปิดลักเปิดได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังอุดมไปด้วยเกลือแร่ต่างๆ ไม่แพ้ผลไม้ชนิดอื่น











































มะยม

สมุนไพรพื้นบ้าน คือ พืชผักพื้นบ้านที่ใช้ทำเป็นเครื่องยา ในการรักษาโรคต่างๆ และเป็นที่น่าดีใจ ที่บ้านเราก็พืชผักพื้นที่ใช้เป็นยาสมุนไพร งั้นเรามาเริ่มทำความรู้จักกับ สมุนไพรพื้นบ้าน กัน



มะยม
ประโยชน์ทางยา
ราก รสจืด สรรพคุณแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง แก้ประดง ดับพิษเสมหะ โลหิตเปลือกต้น รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ แก้เม็ดผดผื่นคันใบ รสจืดมัน ปรุงเป็นส่วนประกอบของยาเขียว สรรพคุณแก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาท ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมียและใบมะเฟืองอาบแก้ผื่นคัน ไข้หัด เหือด สุกใสดอก ใช้สด ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ชำระน้ำในตาผล รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต ระบายท้อง
ขนาดและวิธีใช้
1. ใช้เป็นยาแก้ไข้ทับระดุ ระดูทับไข้ ให้นำเปลือกต้น (เปลือกสด) มาต้มเอาน้ำดื่ม2. เป็นยาบำรุงประสาท ขับเสมหะ ใช้ใบสด ต้มเอาน้ำดื่ม3. ใช้สำหรับล้างและชำระฝ้านัยน์ตา แก้โรคตา ให้นำดอกสด ต้มกรองเอาน้ำล้าง4. เป็นยาแก้โรคผิวหนัง ดับพิษเสมหะโลหิต ช่วยขับน้ำเหลือง ใช้รากสดต้มเอาน้ำดื่ม5. กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต รับประทานผลได้ทั้งดิบและสุก6. แก้ไข้หัวต่าง ๆ ให้นำใบสด ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมีย ใบมะเฟืองอาบ7. แก้เม็ดผดผื่นคัน ใช้เปลือกต้น ต้มอาบ
ข้อควรระวัง
น้ำยางจากเปลือกราก มีพิษเล็กน้อย ถ้ารับประทานเข้าไปจะมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ปวดศีรษะ และง่วงซึม


มะขาม
ประโยชน์ทางยา
แก่น รสฝาดเมา สรรพคุณกล่อมเสมหะและโลหิตเนื้อมะขาม รสเปรี้ยว ชุ่มเย็น ใช้แก้ร้อน ขับเสมหะ แก้อาการเบื่ออาหาร ในฤดูร้อนอาการคลื่นไส้ อาเจียนในหญิงมีครรภ์ และแก้เด็กเป็นตานขโมยแก้ท้องผูกใบแก่ มีรสเปรี้ยวฝาด ใช้นำมาปรุงเป็นยาแก้ไอ โรคบิด ขับเสมหะในลำไส้ฟอกโลหิตขับเลือดลมในลำไส้ แก้หวัดคัดจมูกในเด็ก ใบอบไอน้ำเมล็ดแก่ รสฝาดมัน ใช้ถ่ายพยาธิไส้เดือนในท้องเด็ก แก้ท้องร่วงและอาเจียนเปลือกต้น รสฝาด แก้ท้องอืด ท้องแน่น อาหารไม่ย่อย แก้เจ็บปากเจ็บคอ สมานแผลเรื้อรัง
ขนาดวิธีใช้
1. แก้อาการเบื่ออาหารในฤดูร้อน อาการคลื่นไส้อาเจียนในหญิงมีครรภ์ แก้เด็กเป็นตานขโมย ใช้เนื้อมะขาม 15-30 กรัม อุ่นให้ร้อนรับประทาน หรือผสมน้ำตาลทราย เคี่ยวให้ข้น รับประทานได้ทันที2. รักษาฝีให้ใช้เนื้อมะขามผสมกับปูนแดงทาที่เป็น3. เป็นยาขับเลือด ขับลม แก้สันนิบาต ให้ใช้เนื้อมะขามผสมกับเกลือและข่า4. น้ำมะขามเปียกคั้นเป็นน้ำข้น ๆ ผสมเกลือเล็กน้อย รับประทานชามใหญ่ ใช้สำหรับล้างเลือกที่ตกค้างภายในของหญิงหลังคลอดใหม่ ๆ หลังจากที่รกออกมาแล้ว5. แก้หวัดคัดจมูกในเด็ก หรือทำให้สดชื่นหลังจากฟื้นไข้ หรือหลังคลอด ใช้ใบมะขามแก่ ต้มรวมกับหัวหอมแดง 2-3 หัว โกรกศีรษะเด็กในเวลาเช้ามืด หรือต้มน้ำอาบหลังคลอดและหลังฟื้นไข้ทำให้สดชื่น6. แก้ท้องร่วงและอาเจียนใช้เม็ดแก่คั่วให้เกรียมแล้วกะเทาะเปลือกออกใช้ประมาณ 20-30 เมล็ด นำมาแช่เกลือจนอ่อนนุ่ม7. แก้เจ็บปากเจ็บคอ ใช้เปลือกต้น ผสมเกลือ เผาในหม้อดินจนเป็นเถ้าขาว รับประทานครั้งละ 60-120 มิลลิกรัม และยังใช้เถ้านี้ผสมน้ำอมบ้วนปาก8. ถ่ายพยาธิเส้นด้าย พยาธิตัวกลม นำเมล็ดมะขามมาคั่ว แล้วกะเทาะเปลือกนอกออกใช้เล็ดในที่มีสีขาว 20-25 เมล็ด ต้มกับน้ำใส่เกลือเล็กน้อย รับประทาน 1 ครั้ง หรือคั่วเนื้อในให้เหลืองกระเทาะเปลือกแช่น้ำให้นิ่มแล้วเคี้ยวเช่นถั่ว9. ยาล้างแผลเรื้อรัง สมานแผล ใช้เปลือกต้น 1 กำมือ ต้มกับน้ำตาล 3 แก้วให้เดือดนาน 20-30 นาที เอาน้ำมาล้างแผล10. แก้ท้องผูก มะขามแกะเอาแต่เนื้อ ปั้นเป็นก้อนโตประมาณนิ้วหัวแม่มือ 2 ก้อน (ธาตุหนังใช้ 3 ก้อน) คลุกกับเกลือป่น แล้วแบ่งเป็นลูกเล็ก ๆ พอกลืนสะดวก กลืนกับน้ำแล้วดื่มน้ำอุ่น ๆ ตามประมาณ 1 แก้ว
ข้อควรระวัง
เนื้อมะขามเปียกมีฤทธิ์เป็นยาระบาย หากรับประทานมากเกินไปอาจทำให้ท้องเสียได้



มะนาว

ประโยชน์ทางยา
น้ำมะนาว มีรสเปรี้ยว สรรพคุณแก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยบรรเทา อาการเจ็บคอ บำรุงเสียง ขับระดู แก้เล็บขบ ขับลม แก้ริดสีดวงทวาร ป้องกันโรคลักปิดลักเปิด รักษาอาการบวมฟกช้ำ ทำให้ผิวนุ่ม แก้ซางเปลือกมะนาว ใช้รักษาท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียดเมล็ด รสขมหอม แก้ซาง ขับเสมหะ แก้หายใจขัด แก้ไข้ แก้พิษไข้ร้อน บำรุงน้ำดี แก้พิษฝีภายในราก รสเย็ดจืด แก้ไข้กลับไข้ซ้ำ ถอนพิษผิดสำแดง แก้ฝีมีหัว แก้ปวดฝีใบ รสปร่า สรรพคุณฟอกโลหิตระดู ฟอกเสมหะ แก้ฝีตะมอย ฝี ฟกช้ำ แก้ไข้ แก้กลาก แก้กองลมทุกชนิด แก้ริดสีดวง แก้ไอ แก้หืดดอก แก้ท้องอืดเฟ้อ ปวดท้อง แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ไอผล แก้ท้องอืดเฟ้อ ปวดท้อง แก้สิวฝ้า แก้ส้นเท้าแตก รักษาแผลจากแมลงมีพิษ
ขนาดวิธีใช้
1. ขับเสมหะ บรรเทาอาการเจ็บคอ นำผลสดมาคั้นเอาน้ำ จะได้น้ำมะนาวเข้มข้น ใส่เกลือเล็กน้อย จิบบ่อย ๆ หรือปรุงเป็นน้ำมะนาว โดยเติมน้ำตาลทรายแดง 1 ช้อนโต๊ะ และเกลือเล็กน้องชงน้ำอุ่นดื่มบ่อย ๆ (ควรปรุงให้รสจัดเล็กน้อย)2. แก้ไอ ให้น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำผึ้ง 4 ช้อนโต๊ะ จิบบ่อย ๆ หรือฝานมะนาวเป็นชิ้นบาง ๆ จิ้มเกลือรับประทาน หรือถ้ามีขี้ไต้ในบ้าน อาจเอามะนาวผ่าซีกแล้วรมควันขี้ไต้ก่อนแล้วจึงโรยเกลือ และบีบใส่คอ วิธีรมควันคือ เอาขี้ไต้ชิ้นเล็ก ๆ จุดเข้าเอาหน้าตัดของมะนาวไปขยับไปขยับมาอยู่ใกล้ ๆ ไฟให้เข่าจับ ในเขม่าจะมียาฆ่าเชื้ออ่อน ๆ3. บรรเทาอาการฟกช้ำภายนอก ให้นำน้อมะนาวผสมกับดินสอพองทาหรือพอกบริเวณที่ฟกช้ำก็จะช่วยบรรเทาลงได้4. แก้ท้องอืด ใช้เปลือกมะนาวสดประมาณครึ่งผล คลังหรือทุบเล็กน้อย พอให้น้ำมันออกมา ชงน้ำร้อนดื่ม เมื่อมีอาการ หรือใช้เปลือกผลมะนาวแห้ง 10-15 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม5. แก้ซางแก้ไข้ ขับเสมหะ ใช้เมล็ดคั่ว บดเป็นผง หรือต้มน้ำดื่ม6. กักฟอกเสมหะ ฟอกโลหิตระดู ใช้ใบ 108 ใบต้มเอาน้ำดื่ม7. บำรุงกำลัง ทำให้สดชื่นเวลาเป็นไข้ เอาน้ำมะนาวสด 1 ผล น้ำตาล 16 กรัม น้ำข้าว 500 ซี.ซี. ผสมกันดื่ม8. แก้โรคลักปิดลักเปิด นำน้ำมะนาว 30 ซี.ซี. น้ำตาล 80 กรัม น้ำ 240 ซี.ซี. ผสมกันรับประทานวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น9. รักษาฝีมีหัว ให้ใช้รากมะนาวฝนกับสุราให้ข้น ๆ ทาฝี แก้ปวดฝีทาวันละ 2-3 ครั้ง10. แก้น้ำร้อนลวก ใช้มะนาวผ่าซีกถูบริเวณแผลไปมาให้ทั่ว ๆ วันละ 2-3 ครั้ง ทำประมาณ 4-5 วัน จะหายเป็นปกติ11. รักษาผิวหน้าให้สวยเสมอ ก่อนเข้านอนทุกคืน เอาดินสอพอง 1/2 ก้อน ต่อมะนาว 1 ซีก บีบมะนาวลงในดินสอพอง ผสมให้เข้ากันดีแล้วทาบาง ๆ ให้ทั่วใบหน้า ทิ้งไว้ตลอดคืน รุ่งเช้าจึงล้างออกจะรู้สึกว่าใบหน้าสะอาดขึ้น และช่วยป้องกันสิวอีกด้วย12. แก้ปวดศีรษะ ใช้มะนาวฝานเป็นแว่น หนาประมาณ 6 มม. เอาปูนแดง(ที่รับประทานกับหมาก) ทาด้านหนึ่งให้ทั่ว แล้วเอาด้านนั้นมาปิดขมับที่ปวด ปล่อยไว้จนกว่ายาจะหลุดออกมาเอง