วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

ตำลึง



ตำลึง ชื่อวิทยาศาสตร์ Coccinia grandis (L.) Voigt วงศ์ Cucurbitaceae ชื่ออื่นๆ ตำลึง (กลาง, นครราขสีมา) ผักแคบ (เหนือ) ผักตำนิน (อีสาน) ตำลึง เป็นไม้เถาตามข้อมีมือเกาะเพื่อยึดติดกับต้นไม้อื่น ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่คนละต้น ดอกขาว ผลคล้ายแตงกวาสีเขียวลายขาว เมื่อแก่จะเป็นสีแดงสด ตำลึงเป็นอาหาร สมุนไพรที่มีประสิทธิภาพสูงโดยใช้ใบและเถา สรรพคุณ ซึ่งมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด ได้มีการทดลองใช้น้ำที่คั้นจากต้นและใบตำลึงและสารสกัดตำลึงด้วยแอลกอออล์ 95 % ต่างก็มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในสัตว์ทดลอง นอกจากนี้มีการศึกษาในคนโดยให้คนที่เป็นเบาหวานทั้งชายและหญิงรับประทานตำลึงวันละ 2 ครั้ง พบว่าระดับน้ำตาลในเลือดลดลง นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาภายนอก แก้แพ้ ,คัน, อักเสบ แมลงกัดต่อย เช่น ยุงกัด โดยเอาใบสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาดตำให้ละเอียดผสมน้ำลงไปเล็กน้อย คั้นน้ำมาทาบริเวณที่มีอาการ พอแห้งทาซ้ำบ่อย ๆจนกว่าจะหาย นอกจากตำลึงจะใช้เป็นยาสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพแล้ว ยังเป็นพืชที่มีคุณค่าทางอาหารสูงด้วย เพราะประกอบด้วยวิตามินเอ ซึ่งมีฤทธิ์บำรุงสายตา แล้วยังมีแร่ธาตุที่สำคัญหลายชนิดโดยเฉพาะ แคลเซี่ยม ซึ่งจะช่วยบำรุงกระดูกและฟัน และยังมีธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก นอกจากนี้ยังมีสารอาหารพวกโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และวิตามินอื่น ๆ จึงนับว่าเป็นอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกาย และเมื่อประกอบอาหารยังมีรสชาติอร่อยอีกด้วย มีการทดลองพบว่าใบและเถาตำลึง มีฤทธิ์ช่วยย่อยแป้งได้ จึงเป็นผลดีที่ใช้เป็นอาหารเพราะเท่ากับรับประทาน ยาช่วยย่อยไปด้วยทำให้ไม่อืดแน่นท้อง เนื่องจากอาหารไม่ย่อย แต่ในกรณีนี้ต้องรับประทานตำลึงสด เพราะน้ำย่อยในใบตำลึงจะถูกทำลายได้ง่ายโดยความร้อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น