วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

ตะไคร้



ตะไคร้ (Lemon Grass) ชื่อวิทยาศาสตรส์ Cymbopogon citratus (DC.) วงศ์ Poaceae ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 0.75-1.2 เมตร เหง้าใต้ดินมีกลิ่นเฉพาะ ข้อและปล้องสั้นมาก แตกเป็นกอ กาบใบสีขาวนวลหรือขาวปนม่วง ยาวหนาหุ้มข้อ และ ปล้องไว้แน่น ใบเดี่ยว เรียงสลับ กว้าง 1-2 ซม. ยาว 70-100 ซม. แผ่นใบและขอบใบสากและคม มีดอกยาก ส่วนที่ใช้ ลำต้นและโคนกาบใบ สาระสำคัญ มีน้ำมันหอมระเหย ชื่อน้ำมันตะไคร้ (Lemon Grass oil) ซึ่งได้รับจากการกลั่นไอน้ำจะได้ประมาณ 0.2-0.4 % ส่วนใหญ่ประกอบด้วย Citral นอกจากนี้มี Eugenol, geraniol, linalool, menthol, nerolidol, camphor, citronellol เป็นต้น ใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ประเทศใกล้เคียงเช่น จีนใช้ geraniol จากน้ำมันตะไคร้บรรเทาอาการปวดท้องเพราะลดการบีบตัวของลำไส้ พบว่าน้ำมันตะไคร้มีฤทธิ์ฆ่าแบคทีเรียด้วย ทดสอบไม่พบความเป็นพิษ แม้จะให้ในขนาด 20 เท่าของขนาดที่ใช้เป็นอาหารก็ตาม ขนาดและวิธีใช้ - ใช้ลำต้นและโคนใบแก่สด ทุบพอแหลก ประมาณ 1 กำมือ (40-60 กรัม) ชงเอาน้ำดื่มวันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารหรือใช้ประกอบอาหาร รักษาอาการ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด และเป็นยาขัยลม - ต้นสดแก่ (ตัดใบทิ้ง) หรือเหง้าแก่ มีน้ำมันหอมระเหยประมาณสูง ตำรายาไทยใช้เป็นยาขับปัสสาวะ น้ำสกัดต้นมีฤทธิ์ลดความดันโลหิตในหนูที่ชักทำให้เกิดความดันสูง และอัตราการเต้นของหัวใจ น้ำต้มใบมีผลลดความดันโลหิต ขับปัสสาวะอย่างอ่อนๆ และลดอาการอักเสบ เมื่อให้สัตว์ทดลองกิน โดยใช้ต้นสด วันละ 1 กำมือ หรือ หนัก 40-60 กรัม ต้นกับน้ำ 3-4 ถ้วยชา แบ่งดื่มวันละ 3 ครั้ง ครั้ง 1 ถ้วยชา (75มิลลิลิตร) ก่อนอาหาร เหง้า ฝานบางๆ คั่วไฟอ่อนพอเหลือง ครั้งละ 1 หยิบมือ ชงกับน้ำ 1 ถ้วยชา ริมเฉพาะส่วนใสดื่มจนหมด วันละ 3 ครั้ง เมื่อปัสสาวะคล่องให้หยุดยา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น